วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เหรียญรุ่นแรก ฉลองสมณศักดิ์ หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ พ.ศ.๒๕๐๘

   เหรียญสร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญฉลองสมณศักดิ์ “พระครูภาวนาภิรัต” พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยคณะศิษย์จัดสร้างขึ้น เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า จำนวน ๑๐๖๐ เหรียญ ถือได้ว่าเหรียญฉลองสมณศักดิ์เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ทิมได้รับการกล่าวขวัญว่า มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะผู้รับราชการมียศศักดิ์จะนิยมกันมาก ปัจจุบัน ( ตุลาคม ๒๕๕๒ ) มีราคาเช่าบูชาหลายๆหมื่นบาทความแตกต่างระหว่างเหรียญรุ่นแรก “บล็อกแรก” และ “บล็อกเสริม
   เหรียญรุ่นแรกเมื่อแจกจ่ายจนหมดแล้ว ยังมีบรรดาศิษย์และผู้ศรัทธาต้องการอีกจำนวนมาก คณะศิษย์จึงจัดสร้างเหรียญรูปทรงเดิมขึ้นอีกครั้ง แต่ได้ให้ช่างแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่เนื่องจากแม่พิมพ์เดิมได้ชำรุดไปแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะขึ้นใหม่นี้ เรียกกันว่า “บล็อกเสริม รุ่นแรก” เป็นเหรียญอัลปาก้ากะไหล่เงิน ได้รับความนิยมเช่นกัน แต่ราคาเช่าบูชาย่อมเยากว่ารุ่นแรก มีจุดสังเกตแยกแยะพิมพ์ดังนี้

๑. เหรียญรุ่นแรก “บล็อกแรก” ผิวไม่ลงกะไหล่เงิน แต่เหรียญบล็อกเสริม ผิวลงกะไหล่เงินใว้
๒. พื้นเหรียญด้านหลัง”บล็อกแรก” จะอูมเล็กน้อย แต่เหรียญ “บล็อกเสริม” พื้นเรียบตรง
๓. ยันต์ด้านหลังเหรียญ “บล็อกแรก” เส้นยันต์จะหนาและใหญ่กว่าเหรียญ “บล็อกเสริม” อย่างเห็นได้ชัด
ตำหนิจุดสังเกตเหรียญหลวงปู่ทิม รุ่นแรก บล็อกแรก
ด้านหน้า


๑. ลูกตาของหลวงปู่ทิม ทั้งสองข้างมีเส้นขีดสั้นๆดูคมๆ
๒. ที่ติ่งหูข้างซ้ายของหลวงปู่ทิมมีเส้นซ้อนคมๆ หนึ่งเส้น
๓. มีเส้นขีด ๓ ขีดที่บริเวณผ้าสังฆาฏิบนต้นแขนซ้าย
๔. ผิวเหรียญจะไม่ลงกะไหล่เอาไว้ แต่ถ้ามีกะไหล่เงินแสดงว่าเป็นเหรียญบล็อกเสริม
๕. ตรงคำว่า “ภาวนา” ด้านบนหัวหลวงปู่ทิมนั้น ภายในตัว ว.แหวน จะมีเส้นขวางอยู่หนึ่งเส้นดูแผ่วๆแต่คมไม่หนาเทอะทะ
๖. ตรงคำว่า “ภิรัต” ระหว่างตัว ภ.สำเภา จะมีเส้นขีดขวางบางๆวิ่งไปจรดตัว ร.เรือ หนึ่งเส้น














ด้านหลัง


๑. ตรงหูใส่ห่วงคล้องเหรียญมักจะมีเนื้อปลิ้นเป็นตาไก่ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเหรียญปั้มทุกๆเหรียญ
๒. มีเส้นแตกวิ่งออกมาจากตัวยันต์ใต้คำว่า “ระ” ชี้ขวางไปทางขวาเข้าหาตัว “ก.ไก่” เห็นชัดเจน
๓. คำว่า “ที่” มีเส้นแตกวิ่งมาหาสระ “อี”
๔. คำว่า “ฉลอง” ที่หัวตัว ง.งู มีเส้นแตกชี้ขึ้นไปด้านบน
๕. ตรงจุดนี้มีเส้นแตกเห็นชัดเจนคมๆ ไม่เบลอ
๖. ตรงจุดนี้ มีเส้นแตกเช่นกันและมีแกะพิมพ์เกินทะลุเส้นยันต์ออกมาด้วย

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เหรียญที่ระลึกงานถวายภัตตาหาร หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

     เหรียญนี้สร้างหลังจากที่ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์จากชั้นราชเป็นชั้นเทพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลักษณะด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อสดครึ่งองค์ ตามขอบเหรียญประดับด้วยเม็ดไข่ปลาเล็กๆมีตัวอักษรไทยเขียนว่า “พระมงคลเทพมุนี”
    ด้านหลังตรงกลางเหรียญเป็นรูปดวงปริศนาธรรมกาย มีตัวอักษรขอมอ่านได้ว่า “สัมมาอรหัง” ที่ระลึกในการถวายภัตตาหาร วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี มีทั้งเนื้อเงินและทองแดง
จุดสังเกตในเหรียญรุ่นนี้มีดังนี้
๑.คำว่า “พระมงคลเทพมุนี” มีจุดสังเกตหลายแห่ง ดังนี้
๑.๑ ตรงคำว่าพระหัวตัว ร.เรือ มีเส้นพิมพ์แตกยื่นมาชนกับตัว พ.พาน
๑.๒ ตัว ค.ควาย มีเส้นแตกเป็นขีดเกินออกมาแลดูคล้ายตัว ศ.
๑.๓ คำว่า “มุนี” ตัว น.หนู มีเส้นเกินตรงขมวดยื่นออกมาหน่อยนึง สระ อี หางพาดทับเม็ดไข่ปลาด้านบน
๒. หูข้างขวาของหลวงพ่อหยักคล้ายเลขสาม
๓. บนผ้าสังฆาฏิของหลวงพ่อสด มีเส้นเสี้ยนเล็กๆวิ่งอยู่หลายเส้น

จุดสังเกตด้านหลัง
๑. ตรงคำว่า “ภัตตาหาร” ตัว ภ.สำเภา ปากจะแตกเป็นสองแฉก
๒. มีจุดเล็กเท่าเข็มหมุดหนึ่งเม็ดอยู่ในวงกลมกลางยันต์วงกลาง วงอื่นจะไม่มี
๓. คำว่า “เจริญ” ตัว จ.จาน ปากแตกออกเป็นสองแฉก
๔. คำว่า “ธนบุรี” ตัว บ.ใบไม้ ที่หางจะมีเนื้อเกินชนสระอี

     นอกจากที่ผมแนะนำแล้วก็ยังมีอีกหลายจุดสังเกตให้จดจำ ขอให้ท่านหาเหรียญแท้มาหาจุดสังเกตดูหรือหารูปจากหนังสือที่เชื่อถือได้มาลองสังเกตดูครับเหรียญนี้มีการสร้างเสริมหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว โดยนำแม่พิมพ์เดิมกลับมาปั้มอีกครั้ง ตามพื้นผิวเหรียญมักมีรอยขรุขระเป็นแบบข้าวหน้าตังครับ

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

     พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม. คือพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนากัมมฐานที่หลายๆท่านเชื่อว่าท่านสำเร็จวิชาธรรมกาย ชื่อเสียงเกียรติคุณท่านจึงโด่งดังมาพร้อมกับพระผงของขวัญ ที่ในอดีตได้รับความนิยมมาก มีการเช่าหากันถึงหลักล้านในองค์ที่มีความสวยระดับแชมป์เรียกพี่แต่ว่ามีขึ้นก็มีลงเป็นสัจธรรมด้วยว่ามีของเสริมเก๊เฉียบออกอาละวาดอย่างหนัก ท้ายที่สุดราคาก็ตกลงมาในหลักหมื่น ดังนั้นนักเล่นจึงหันมาสะสมวัตถุมงคลของท่านประเภทเหรียญแทนพระเนื้อผงซึ่งจะหาชม(ของแท้)ได้ยากขึ้นทุกขณะ ด้วยคิดว่าของเก๊ทำเหมือนได้ยาก จึงอยากจะแนะนำให้จดจำไว้บ้างเผื่อเจอของหลง...
เหรียญดวงสมภพ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

จุดตำหนิในเหรียญนี้ คือ

๑.ที่ใกล้มุมขวามือด้านบนมีรอยแกะพิมพ์พลาดเป็นเส้นนูนแนวดิ่ง ๑ เส้น
๒.คำว่า “ปากน้ำ” ใต้ตัว “ก” มีจุดไข่ปลาหนึ่งเม็ด
๓.คำว่า “สัมมา” ใต้สระ อา มีรอยแกะพิมพ์พลาดยาวลงไปคมๆ แลดูพลิ้ว ไม่แข็งกระด้าง
๔.เส้นที่เชื่อมวงกลมตรงกลางเหรียญมักปรากฏเส้นแกะเกินทะลุถึงวงในทุกเส้น และเส้นขวามือมีรอยแกะพิมพ์พลาดเป็นเส้นตรงคมๆวิ่งขนานไปหาวงกลม
๕.ที่วงกลมลูกที่อยู่ตรงกลางมีจุดไข่ปลาอยู่หนึ่งเม็ด
๖.วงกลมด้านซ้ายมือมีเส้นขนแมวเรียวยาวคมๆหนึ่งเส้น
๗.คำว่า “ธรรม”ขมวดตัว “ม” เส้นจะขาด
๘.ที่รูใส่ห่วงเหรียญต้องมีรอยเนื้อปลิ้นเรียกว่ารอยตราไก่ และตามขอบเหรียญมักมีรอยเนื้อปลิ้นคมๆอยู่ซึ่งเกิดจากการกระแทกปั้มอย่างแรงนั่นเอง ตรงนี้ทำเก๊ยาก

การตรวจสอบพระพุทธรูปบูชาเนื้อสัมฤทธิ์เก่าหรือใหม่

โดย คุณหนุ่ม มรดกไทย

     การที่จะเป็นนักสะสมพระพุทธรูปเทวรูปพระเครื่องพระบูชาในสมัยนี้นั้น ต้องลงทุนมาก ต้องศึกษาหาความรู้ว่าพระเก่าหรือพระใหม่เป็นเช่นไร เสี่ยงต่อการถูกต้มตุ๋นหลอกลวงเป็นอย่างมาก นักเลงนักสะสมพระเครื่องพระบูชามือใหม่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจ ในวิธีตรวจสอบดูพระเครื่องพระบูชาที่เป็นของเก่าของกรุ ว่าของเก่าแท้แน่นอนนั้นเป็นประการใด
   ทั้งนี้เพราะนักเล่นพระมือใหม่ยังไม่ค่อยสนใจศึกษาหาความรู้ หรือขอดูพระเก่าของแท้จากผู้รู้ให้กะจ่างแจ้งเสียก่อน ส่วนมากมือพระใหม่พอเข้าสู่วงการพระมีผู้รู้บ้างไม้รู้บ้างชักจูงแนะนำไปในทางที่ผิด เข้ารกเข้าป่าไปก็มี เช่นให้เล่นพระตามใจชอบ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนไม่มีพี่เลี้ยงหรือเทรนเนอร์ที่ดีมีความรู้ ขอให้ชอบเป็นเช่า หาได้ทราบไม่ว่าของที่เช่านั้น เป็นพระใหม่หรือพระเก่า ในวงการพระเขานิยมหรือไม่ เชื่อแต่ลิ้นลมลวงเอาหูฟังประวัติอันเลื่อนลอยอ่อนหวานของผู้ชาย สรุปแล้วเอาหูเล่นพระเป็นใหญ่อย่างนี้ ผู้เล่นพระร้อยทั้งร้อยเล่นพระแต่หนุ่มจนแก่ก็ไม่ได้ดีเพราะหลงผิด เสียเงินเสียทองเปล่า บางรายอาจถูกต้มจนหมดตัวก็มี ขอให้ท่านจงระวังจงเป็นผู้มีเหตุผลเล่นพระตามสากลนิยมพระอย่างใด ครูบาอาจารย์ผู้เล่นมาก่อนว่าเป็นพระชั้นดีก็ต้องเชื่อเขา เช่นพระเครื่องชุดเบญจภาคีอันประกอบด้วย พระสมเด็จโต พระนางพญา พระรอด พระทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ อันเป็นยอดพระเครื่องชั้นสูงหรือพระบูชาสมัยสูง เช่นทวารวดี ศรีวิชัย ขอม ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา อย่างนี้ถ้าเป็นพระแก่แท้ก็เป็นของหายากราคาสูง จึงควรจะได้แสวงหาเช่ามาบูชา ก็จะเกิดโชคดีมีศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว พระเก่าแท้ให้ความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้กราบไหว้เคารพบูชาอย่างแท้จริง พระเก่าไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องพระบูชาอย่างแท้จริง
   พระเก่าไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องพระบูชาสร้างด้วยเนื้อหินศิลา สัมฤทธิ์ ชิน ตะกั่ว ดิน ผง ว่านฯ ต้องมีความเก่า คือมีคราบ มีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่ง รูพรุนปรายเข็ม ริ้วระแหงแตกร้าวเหี่ยวย่น ผิวเข้ม เนื้อแห้งสนิทพื้นผิวของ เนื้อพระไม่ตึงเรียบ เนื้อไม่มันวาว ไม่กะด้าง ถ้าใช้มานานถูกเสียดสีเนื้อพระจะเข้มขึ้นแลมันใส ลูบดูทั่วองค์พระจะไม่มีขอบคมเลย ดมดูจะไม่มีกลิ่น เอาลิ้นแตะดูจะไม่ดูดลิ้นอย่างนี้เป็นต้น
หลักการพิจารณาตรวจสอบพระพุทธรูปบูชาเนื้อสัมฤทธิ์เก่าหรือใหม่ เป็นของแท้ของเทียมหรือของปลอมดังจะได้เรียนต่อไปนี้ ขอท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาทุกตัวอักษร และตีความหมายไปด้วย แล้วท่านจะเข้าใจในการดูพระแท้พระปลอม การที่จะตรวจสอบว่าเป็นพระเก่าพระใหม่โดยการเขียนเป็นตัวอักษรให้เข้าใจได้แน่ชัดนั้นยากนัก และแต่ละหัวข้อให้ถามตนเองว่าพระที่สร้างแบบนี้ทำปลอมได้ไหม

๑. พระเก่าเราดูรูปแบบว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยใด เป็นสมัยลพบุรี เชียงแสน อู่ทอง สุโขทัย อยุธยา ถูกต้องหรือไม่เป็นฝีมือช่างราษฎร์ (สร้างไม่สวยงาม) หรือฝีมือช่างหลวง (สวยงาม)

๒. พระเก่าต้องมีคราบมีสนิม มีรอยสึกกร่อน แอ่งรูพรุนปรายเข็ม รอยชำรุดแตกร้าวเนื้อแห้งสนิทผิวเข้ม เป็นไปตามธรรมชาติอย่างที่ว่าสนิมอยู่ในเนื้อ

๓. พระเก่าแท้เห็นแล้วได้ไว้เป็นเจ้าของมีความซึ้งตา ซึ้งใจ เนื้อผิวของพระเนียนสนิท

๔. พระเก่าเอามือจับลูบดูทั่วองค์พระทุกแห่ง จะไม่มีขอบคมติดมือเลย

๕. ถ้าตรงไหนมีเนื้อในของพระสึกกร่อนจนเห็นเนื้อโลหะ เนื้อโลหะสัมฤทธิ์ตรงนั้นจะมองเห็นสีแดงปนเหลือง หรือค่อนข้างแดง หมองหม่น คล้ำ สีซีด ไม่มันวาว ไม่เป็นเหลืองเหมือนทองเหลืองล้วนๆ

๖. พระเก่าผิวเนื้อจะมันใส แห้งสนิท ของทำเทียมเลียนแบบผิวเนื้อพระจะมันวาวเช่นดำมันวาวหรือแดงน้ำตาลไหม้มันวาว พระของใหม่เนื้อจะกะด้าง ไม่งามติดตา หรือให้ช่างรมดำเอา

๗. พระเก่าถ้าเป็นพระนั่งเคาะดูที่ฐานนั่งจะมีเสียงดังแปะๆ ถ้าเป็นพระใหม่จะมีเสียงดังหนักแน่นกังวาล ก็เพราะเนื้อพระยังใหม่กินตัวกับอากาศไม่นานพอ

๘. พระเก่าเนื้อแห้งสนิท ผิวเนื้อของพระไม่เรียบตึง เนื้อพระเก่าจะมีรอยย่นเหี่ยวแอ่งรู พรุน สึกกร่อนสวนมากมีรอยชำรุดแตกร้าวใช้แว่นขยายกำลังสูงส่องจะมองเห็นชัดเจน


๙. พระเก่ามีรูสนิมขุม หรือขุมสนิมจะเกิดจากด้านในมาด้านนอก ปากสนิมขุดจะเล็กด้านในกลวง สนิมที่ทำเทียมใช้น้ำกรดราดกัดเนื้อพระปากสนิมจะกว้างด้านในเล็ก สนิมจะกัดกินเนื้อพระสม่ำเสมอ พระเก่าสนิมขุมจะเป็นแอ่งขรุขระสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ

๑๐. ดินหุ่นด้านในใต้ฐานของพระ พระเก่าดินหุ่นมักจะมีค่อนข้างหนา แข็ง แห้งสนิทถ้าเอานิ้วมือแตะดูดินหุ่นจะติดมือ เพียงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ติดมือเลย

๑๑. ขอบโลหะพระนั่งด้านล่าง คือตรงฐานที่เราตั้งพระนั่ง พระเก่าแท้ขอบพระด้านล่างจะมีผิวสนิมเหมือนกับผิวสนิมขององค์พระไม่มีรอบตะไบ ขอบด้านล่างนี้ผู้ปลอมหรือทำใหม่ทาน้ำยาเคมีไม่ติดแน่นจึงทำให้ผิวขอบพระนั่งด้านล่างนี้แตกต่างจากองค์พระไม่มากก็น้อย

๑๒. เม็ดพระศกก้นหอยขององค์พระเก่าแท้ ผู้สร้างคนโบราณได้ปั้นเม็ดพระศกของพระด้วยมือทุกๆ เม็ดพระศก ฉะนั้นเม็ดพระศกอาจจะมีเล็กใหม่แตกต่างกันเล็กน้อย แถวเรียงเม็ดพระศกอาจจะบิดเบี้ยวเล็กน้อยก็ได้ แต่เม็ดพระศกของพระทำเทียมเลียนแบบ หรือ พระใหม่จะมีรอยขีดเป็นเส้นโคงไปตามแนวพระนลาตหรือพระเศียรของพระ แล้ววางเรียงเม็ดพระศกเป็นระเบียบเรียบร้อย

๑๓. พระใหม่เม็ดพระศกด้านหน้าตรงพระนลาตจะยกขอบสูงกว่าพื้นผิวพระนลาตจนเห็นชัด หรือบางทีก็เห็นเป็นเส้น เป็นแอ่งชัดเจน พระเก่าแท้เม็ดพระศกด้านหน้าจะอยู่ในระดับเดียวกับผิวพระนลาต ไม่มีรอยขีดและเป็นไปตามธรรมชาติ พระบูชาถ้าเป็นพระสมัยสูงอายุเกินกว่า ๘๐๐ ปีขึ้นไป เช่นพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ฐานเขียงไม่มีบัว เม็ดพระศกของพระจะแตกบี้เห็นได้ชัดเจน

๑๔. พระเก่าผิวเนื้อ ผิวสนิมจะมองดูเห็นมีสีอ่อนแก่ได้ชัดเจน ไม่ใช่ผิวสนิมเนื้อของพระมองดูเป็นสีเดียวโล้นๆ ซึ่งเป็นผิวสนิมของพระใหม่

๑๕. พระเก่าดมดูจะไม่มีกลิ่นฉุน เมื่อดมดูจะรู้สึกเฉยๆ หรือเมื่อเอาลิ้นแตะเนื้อพระดูจะไม่ดูลิ้น เนื้อพระใหม่เอาลิ้นแตะดูจะดูดลิ้นเพราะในเนื้อพระน้ำยาเคมียังระเหยไปไม่หมด

๑๖. พระบูชาที่เอาเนื้อพระเก่าที่แตกหักชำรุดหรือไม่สวยงามมาเทสร้างใหม่ให้เป็นพระสมัยสูงมีราคาแพง
เช่นพระพุทธรูปเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี นี้นั้นขอให้สังเกตุให้ดี ผิวสนิมเนื้อของพระที่เทใหม่จะไม่มันใส แต่มีความเก่า เนื้อพระนี้จะมองดูด้านๆ และเนื้อโลหะไม่เข้ากันสนิท คือดำๆ ด่างๆ ผิวหยาบ ทำกินหุ่นไม่เหมือนของเก่าหรือบางทีก็ไม่มีดินหุ่น เอามือจับลูบดูอาจมีขอบคมอยู่บ้าง

๑๗. เคล็ดลับหรือตำหนิพระเก่าแท้พระบูชาสมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี
ที่ผู้รู้กำหนดไว้บอกว่า พระที่มีลักษณะต่อไปนี้เป็นพระเก่าที่คณาจารย์ หรือช่างโบราณสร้างขึ้นได้ลักษณะถูกต้องแท้จริง ย่อมประกอบไปด้วยสิ่งดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างคือ

ก. ขอบหรือจีบชายจีวร ที่พาดผ่านพระอุระของพระจากด้านหน้าวก โค้งไปด้านหลังจะมีจีบเป็น ๒ จีบ

ข. เหนือคิ้วขององค์พระจะมีขีดเป็นขีดเล็กๆ โค้งไปตามคิ้วอย่างสวยงาม

ค. พระสังฆาฏิ ของพระด้านหลังจะไม่ถึงที่นั่ง คือปลายสังฆาฏิด้านหลังพระถึงที่นั่ง คือปลายสังฆาฏิด้านหลังพระ จะไปหยุดอยู่แค่สะโพก และพระบูชาที่ไม่มีตำหนิดังกล่าวนี้ที่เป็นของเก่าแท้แน่นอน ก็มีมากมายเช่นกัน และพระใหม่พระทำเทียมเลียนแบบ อาจจะมีตำหนิดังกล่าวนี้ได้เช่นเดียวกัน จึงถือเอาตำหนินี้เป็นแน่นอนไม่ได้ ทำไมเซียนพระจึงเพียงแต่มองดูพระพุทธรูป โดยยังไม่ได้จับต้องก็รู้ว่าพระนั้นเป็นพระเก่า หรือพระใหม่ได้ถูกต้อง อย่างนี้ก็ไม่ใช้เรื่องแปลกปลาดอันใดเพราะเขาดูและยึดถือตำหนิดังกล่าวนี้ จึงบอกได้ถูกต้อง
     วัสดุที่โบราณาจารย์ นิยมเอามาสร้างเป็น พระพุทธรูปบูชาอย่างแพร่หลายได้แก่โลหะ ทองคำ นาค เงิน ทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ลงหิน เมื่อผสมกัน แล้วเรียกว่าสัฤทธิ์นี้ เฉพาะแร่ทองคำ เงินและทองแดง เป็นธาตุแท้ นอกนั้นเป็นโลหะผสม เนื้อทองคำเหลืองอร่ามสวยงามมีราคาสูงไม่กลายสภาพเป็นอย่างอื่น เมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่นจะทำให้แร่ธาตุอื่น จะทำให้ แร่ธาตุนั้นผิวกลับดำ ถ้าธาตุนั้นเก่าก็จะทำให้มองเห็นความเก่าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื้อทองแดงเมื่อผสมกับแร่ธาตุอื่น จะทำให้แร่ธาตุนั้นเปลี่ยนไป เช่นทองแดงผสมสังกะสีจะกลายเป็นทองเหลืองเนื้อสัมฤทธิ์ตามความหมายของนักเล่นพระ หมายถึงโลหะผสมผิวกลับดำหมองคล้ำย่อมมีผิวเนื้อแตกต่างกัน ทั้งนี้แล้วแต่ส่วนผสม เช่นถ้าส่วนผสมแก่เงินผิวโลหะนั้นจะกลับดำ ถ้าโลหะนั้นมีทองคำผสมด้วยแม้จะไม่มากนักก็ทำให้โลหะนั้น มีความมันในสวยงามขึ้น โลหะที่ผสมเป็นเนื้อสัมฤทธิ์สร้างพระบูชา นิยมเรียกชื่อต่างกันตามผสม เช่น ปัญจโลหะ, และ
นวโลหะ

ปัญจโลหะ ได้แก่ส่วนผสมโหละ ๕ อย่างดังต่อไปนี้คือ
๑. ดีบุก หนัก ๑ บาท
๒. ปรอท หนัก ๒ บาท
๓. ทองแดง หนัก ๓ บาท
๔. เงินหนัก ๕ บาท
๕. ทองคำ หนัก ๕ บาท
สัตตะโลหะได้แก่ส่วนผสมโลหะ ๗ อย่างดังต่อไปนี้
๑. ดีบุก หนัก ๑ บาท
๒. สังกะสี หนัก ๒ บาท
๓. เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท
๔. ปรอท หนัก ๔ บาท
๕. ทองแดง หนัก ๕ บาท
๖. เงิน หนัก ๖ บาท
๗. ทองคำ หนัก ๗ บาท
นวะโลหะได้แก่ผสมโลหะ ๙ อย่างดังต่อไปนี้
๑. ชิน หนัก ๑ บาท
๒. เจ้าน้ำเงิน หนัก ๒ บาท
๓. เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท
๔. บริสุทธิ์ หนัก ๔ บาท
๕. ปรอท หนัก ๕ บาท
๖. สังกะสี หนัก ๖ บาท
๗. ทองแดง หนัก ๗ บาท
๘. เงิน หนัก ๘ บาท
๙. ทองคำ หนัก ๙ บาท
     พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ที่เห็นปรากฏเป็นส่วนมาก็มี เนื้อสัมฤทธิ์ดำ เนื้อสัมฤทธิ์เขียว เนื้อสัมฤทธิ์แดง เนื้อสัมฤทธิ์ดังกล่าวนี้ ถ้ามีส่วนผสมของทองคำจะทำให้สัมฤทธิ์นั้นมันใสสวยงามยิ่งขึ้น
สัมฤทธิ์ดำ มีส่วนผสมของแร่เงินมาก
สัมฤทธิ์เขียว มีส่วนผสมของทองเหลืองมาก
สัมฤทธิ์ แดงน้ำตาลไหม้ มีส่วนผสมของแร่ทองแดงมาก
เนื้อพระผิวสนิมสีของพระเก่ามีสีอ่อนแก่ แตกต่างกัน และสนิมของพระก็แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระเก่าบางองค์ฝังอยู่ในดินฝันอยู่ในถ้ำ บางองค์เก็บรักษาไว้ในถ้ำ ในปราสาท ในโบสถ์ วิหาร ศาลาเปรียญหรือเก็บไว้ในบ้าน พระเก่าที่ฝังอยู่ในดินในกรุผิวสนิมของพระจะหนา เหี่ยวย่นที่เก็บไว้ในบ้านเคหะสถาน โบสถ์วิหาร ผิวสนิมจะบางสวยงามเนียนสนิท

พระสัมฤทธิ์ เนื้อมันวาว เรามองดูผิวพระจะมันวาว มันละเลื่อม ผิวเข้ม ความมันวาวจะฉาบอยู่บนพื้นผิวของพระ ความมันวาวนี้อาจจะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติถ้าเป็นพระเก่าสร้างมานานเกินกว่า ๖๐ ปี ถึง ๒๐๐,๓๐๐ ปี หรือเกิดจากการรมดำ ถ้าเป็นพระใหม่ฉะนั้นตามทัศนะของข้าพเจ้าผู้เขียนเห็นว่าพระเนื้อสัมฤทธิ์มันวาว มีทั้งที่เป็นพระเก่าที่สร้างเลียนแบบ และที่เป็นพระสร้างขึ้นใหม่โดยทาสีรมดำเอา ขอให้หัวข้อที่กล่าวมาแล้ว ๑๗ ข้อตรวจสอบพิจารณาก็จะทราบว่าเป็นพระใหม่หรือพระเก่า (พระที่เลียนแบบพระสมัยต่างๆเช่นสมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง นั้นได้สร้างกันมานานแล้ว อย่างที่นักเลงพระบอกว่า พระองค์นี้เก่าอยู่แต่ไม่ถึงสมัย ความนิยมคุณค่าราคาก็จัดว่าเก่ามีราคาพอสมควร)

พระสัมฤทธิ์เนื้อมันใส จัดเป็นเนื้อเก่าแท้ ความมันใสเกิดจากพระสร้างมานานเนื้อพระกินตัว กับอากาศถูกความร้อนเย็นนานเข้าเนื้อพระแห้งสนิท เกิดคราบสนิมมีความสึกร่อนตามธรรมชาติ ความแห้งไล่ความชื้นในเนื้อพระออกไปทำให้พระแห้ง เกิดความมันใส ความมันใสนี้ดูด้วยตาจะอยู่ในระหว่างความมันวาวและความกะด้าง
ที่สุดนี้ขอให้ศึกษาได้โปรดพิจารณาด้วยดี ถ้าอ่านช้าๆ พินิจพิเคราะห์ตัวอักษรด้วยดี จะช่วยให้ท่านดูพระบูชาเป็น ป้องกันคนอื่นจะมาแหกตาได้ ที่กล่าวมานี้ก็ด้วยเจตนาบริสุทธิ์เจตนาดีแก่ทุกท่านที่เป็นนักนิยมพระ จะว่าเรื่องเชยสิ้นดีเอามะพร้าวมาขายสวนก็ยอม สะสมพระมานานมีความรู้ประสพการณ์ มาอย่างไรก็เอามาเล่าบอกกล่าวให้กันฟัง และโปรดอย่าได้ถือเอาความคิดเห็นนี้เป็นข้อยุติ ขอให้ถือว่าข้อเขียนนี้เป็นทัศนะของนักสะสมคนหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากมีอะไรผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องขอได้โปรดอภัยด้วย ขอยุติเพียงเท่านี้ สวัสดี

เครดิต...คุณหนุ่ม มรดกไทย ติดต่อคุณหนุ่มได้ทีฺ่Bigboy@soonphra.com นะครับ **
และคุณ กบนอกกะลาเสริมว่า...
     ในกรณีของผู้สะสมที่พิจารณาเนื้อโลหะไม่คล่อง คือให้สังเกตุบริเวณไหล่ ของพระพุทธรูป ว่ามีการเชื่อมแขนพระกับองค์พระหรือไม่? สังเกตุด้วยการลูบดู ว่าสะดุดหรือไม่? มีการพรางตาด้วยวัสดุดำๆ บริเวณดังกล่าวหรือไม่? จากนั้น ให้ไล่ลงไปดูที่บริเวณใต้หลังพระหัตถ์ที่วางอยู่บนตัก พบรอยเชื่อมยึดติดระหว่าง มือกับตักหรือไม่? ถ้าหากพบรอยที่ว่าดังกล่าว ฟันธง .... เป็นพระย้อนยุค (อาจจะปลอม) ในยุคหลัง ร.๕ หรือเมื่อเร็วๆ นี้ นี่เอง เพราะว่าในสมัยโบราณ ไม่มีเครื่องเชื่อม ไม่มีลวดเชื่อม นั่นเอง อีกทั้งให้สังเกตุความตั้งใจในการสร้าง ถ้าเป็นพระยุคหลัง นิ้วมือของพระจะ ฝีมือหยาบมากๆ ไม่อ่อนช้อยเอาเสียเลย อีกอย่างนึง ดูรอยตะเข็บข้างพระก็ได้ ถ้าพบก็ให้ระวัง ปลอม 80 เปอร์เซนต์ หรืออาจจะเป็นพระที่ถอดพิมพ์มาก็ได้ พระพุทธรูป สมัยก่อนทำได้ไม่มากองค์นัก การเก็บรายละเอียดของงานจะดูดีมากๆ ด้วยความเลื่อมใสของช่าง ด้วยวิญญาณแห่งศรัทธา น้ำหนักของพระจะหนักเอาเรื่อง (หล่อหนา) เบ้าทุบ คือหุ้มขี้ผึ้งทั้งองค์ เป็นงานชิ้นเดียว ไม่แยกหล่อแขนต่างหาก แล้วนำมาเชื่อมต่อเหมือนในปัจจุบัน (สร้างได้เป็นจำนวนมาก เพื่อเงินตรา ไม่ใช่ศรัทธา) พระปลอมก็จะทำพระให้หนักด้วยการหล่อปูนซีเมนต์ หรืออะไรก็แล้วแต่ ให้องค์พระหนักขึ้น ที่บริเวณใต้ฐานก็จะทำให้มองดูเหมือนว่า เนื้อพระจะหนา แต่ไม่ใช่ครับ เขาตลบขอบเข้าไปหลอกเอาไว้ สังเกตุดูให้ดีจะพบอาการนี้ครับ

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

14.พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์ ”คอตึง”

พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์คอตึง ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แม้ว่านักสะสมจะกำหนดค่าความนิยมเอาไว้เป็นรอง พิมพ์นิยม ก็ตามที แต่ก็ต้องยอมรับว่าพิมพ์คอตึงนี้ เล่นง่ายดูง่ายกว่าพิมพ์นิยมอยู่มากพอสมควร เพราะมีเพียง 1 เนื้อ 2 บล็อก เท่านั้นเองแถมยังมีประสบการณ์มากจริงๆ ถ้าจะคิดเสาะหามาไว้ติดตัวแล้วละก็ เลือก “พิมพ์คอตึง” แน่นอนกว่า นักเลงรุ่นพ่อว่าไว้อย่างนั้น
พระรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิม พิมพ์คอตึงนี้ สร้างก่อนพิมพ์นิยมครับ มีเฉพาะ เนื้อทองเหลือง แบ่งออกเป็น 2 บล็อกด้วยกัน จุดสังเกตความแตกต่างระหว่าง 2 บล็อก คือ
1.พิมพ์คอตึง ง.งู หางสั้น ตัว ง. งู ตรงคำว่า “หลวง” หางตัว ง. งู จะอยู่ในระดับแค่กึ่งกลางของตัว ว.แหวน นอกจากนี้กึ่งกลางตัว ว.แหวน จะมีขีดขวางวิ่งไปจรดตัว ล.ลิง
2.พิมพ์คอตึง ง.งู หางยาว บล็อกนี้หางตัว ง.งู จะยาวขึ้นไปเกือบอยู่ในแนวเดียวกับหัวของตัว ว.แหวน โดยที่ตัว ว. นั้นจะไม่มีขีดขวางเหมือนบล็อกแรก
ด้านหลังของหลวงพ่อเดิมพิมพ์นี้เหมือนกับ พิมพ์นิยมบล็อกแตก เลยมีนักสะสมหลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า พิมพ์คอตึง อาจสร้างภายหลัง พิมพ์นิยม ก็ได้แต่ตามประวัติการสร้างแล้วระบุไว้ว่า พิมพ์คอตึงสร้างก่อน
การเล่นหาสะสม “พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิมพิมพ์คอตึง “ มีหลักการพิจารณาในเบื้องต้นคล้ายกับพิมพ์นิยมดังนี้ครับ
1.เป็นพระรูปเหมือนปั๊มกระแทก ดังดั้นจึงมีความคมชัดมาก เส้นสายลายละเอียดดูชัดเจนไม่เบลอ
2.ผิวโลหะมีความเรียบ แน่น ตึง ไม่มีรูพรุนอากาศแบบพระหล่อ
3.ตัวอักษรที่เขียนว่า”หลวงพ่อเดิม” ตัวหนังสืออาจปั๊มไม่ติดหรือมีรอยบุบบู้บี้อันเกิดจากแรงกระแทก เนื่องจากตัวหนังสือเป็นส่วนที่นูนออกมาจึงเป็นจุดที่ได้รับแรงกระแทกมากเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่เป็นทุกองค์มีบางองค์ที่ปั๊มติดสวยๆ

จุดตำหนิในการดู หลวงพ่อเดิมพิมพ์คอตึง ง.งู หางสั้น

1.เม็ดนัยน์ตาติดชัดเจน ไม่ตื้นเบลอ ตาซ้ายอยู่ต่ำกว่าตาขวา
2.ริ้วจีวรที่พาดแขนซ้ายมีเส้นขนแมวอยู่ในร่องจีวร
3.หางตัว พ. มีขีดเฉียงขึ้น
4.หางตัว ง. งู สั้นแค่ครึ่งของตัว ว.แหวน และมีเส้นพาดขวางที่กลางตัว ว.แหวน
5.มีเส้นขีดขวางแนวนอนพาดผ่านผ้าสังฆาฎิไปหาริ้วจีวร
6.ใต้รักแร้ขวาของหลวงพ่อเดิม มีเส้นขีด 2 เส้นเชื่อมไปจรดจีวร

จุดตำหนิในการดู หลวงพ่อเดิมพิมพ์คอตึง ง. งู หางยาว

1.ภายในร่องโค้งผ้าสังฆาฏิมีขีดในแนวนอน
2.รอยพับที่ผ้าสังฆาฏิลึกและร่องใหญ่กว่าพิมพ์ ง. งู หางสั้น
3.หางตัว “ง” ยาวเสมอมุมหักของตัว “ว”
4.เส้นลำคอของหลวงพ่อเดิม เล็กและแคบกว่าพิมพ์ “ง” หางสั้น
ด้านหลังพระนั้นมีความชัดเจนมากโดยเฉพาะ”ริ้วจีวร”นั้น ที่ขาซ้าย-ขวาด้านหลังจะมีร่องรอยตกแต่งด้วยตะไบ มีร่องรอยการขูดเซาะคล้ายๆสามเหลี่ยม ตลอดจนมีรอยงัด ที่ข้อศอกเป็นร่องเช่นกันเพื่อตกแต่งรอยตะเข็บข้างในซอกข้อศอกออกไป

      ส่วนใต้ฐานนั้น โดยส่วนมากมักจะมี”รอยจาร”บางองค์จารยันต์พุทธซ้อน บางองค์จารยันต์ “นะซ่อนหัว” หรือบางองค์มีรอยจารทั้งสองแบบก็มี รอยจารจะเส้นเล็ก เรียว ไม่สดใหม่ ต้องส่องด้วยกล้องส่องพระจึงจะเห็น ถ้ามองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นเส้นใหญ่ๆ ให้พึงระวัง
พุทธคุณใน”พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม พิมพ์คอตึง” มีประสบการณ์เด่นชัดมากในทาง”แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุด” ดังนั้นนักสะสมสายหลวงพ่อเดิมจะทราบดี หากให้เขาเลือกระหว่าง”พิมพ์นิยม”กับ”พิมพ์คอตึง”แล้วละก็ยังงัยก็เลือก”หลวงพ่อเดิมพิมพ์คอตึง”

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

13.เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ๒ ไข่ปลาใหญ่ บล็อก “พุทย้อย”

เหรียญหลวงปู่ทวด ไข่ปลาใหญ่ “บล็อกพุทย้อย” เป็นเหรียญที่มีความคล้ายคลึงกับเหรียญหลวงปู่ทวด บล็อกไม้มลาย แต่มีจุดแตกต่างที่ชัดเจนอยู่ที่คำว่า “ช้างให้” ไม่ได้เขียนด้วยสระไอไม้มลาย ส่วนด้านหลังเป็นคนละบล็อกกับเหรียญรุ่น ไม้มลาย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่ที่ใต้ตัว พะ มีเส้นติ่งอยู่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “พุทย้อย” เหรียญหลวงปู่ทวดบล็อกนี้ มีจำนวนค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันเหรียญสวยๆผิวรมดำเดิมๆ มีราคาสูงถึงหลักหมื่นกลาง ( กันยายน ๒๕๕๒ )
...จุดตำหนิเหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น ๒ ไข่ปลาใหญ่ “พุทย้อย”...

ด้านหน้า
๑.มีเส้นบล็อกแตกอ่อนพลิ้ววิ่งจากขอบไปยังหูขวา
๒.ตรงอักขระขอมคำว่า “นะโมโพธิ” ตรงตัว “ธิ” มีเส้นแตกจากสระ อิ วิ่งออกไปในแนวขวาง
๓.ข้างแก้มซ้ายของหลวงปู่ทวดมีเส้นขนแมวอยู่หลายเส้น
๔.ตรงไหล่ซ้ายของหลวงปู่ทวดบริเวณผ้าสังฆาฎิ มีเส้นติ่งยื่นล้ำออกมา
๕.ช้างตัวที่อยู่ตรงขวามือของหลวงปู่ทวดมีเส้นแตกออกมาตรงกลางปากพอดีหนึ่งเส้น และตรงปลายงวงวิ่งไปชนแขนหลวงปู่อีกหนึ่งเส้น
๖.ตรงคำว่า “หลวงพ่อ” ที่ตัว ล.ลิง มีเส้นแตกวิ่งไปหาตัว ว.แหวน

ด้านหลัง
๑. รูหูเหรียญมีรอยเนื้อปลิ้นเป็นตาไก่อยู่ เกิดจากการปั๊มกระแทกอย่างแรงตอนปั๊มเหรียญ
๒. ตัวอักขระขอม ตัว “พุท” ที่อยู่ตรงด้านบนกึ่งกลางศรีษะอาจารย์ทิม มีเส้นติ่งย้อยลงข้างล่างเป็นที่มาของชื่อ “พุทย้อย”
๓. คำว่า “พระครูวิสัยโสภณ” สระ อู. เกยบนขอบเหรียญ ในเหรียญที่ติดชัดๆ จะมีเส้นแตกจาก ย.ยักษ์ วิ่งไปหาหัวของ สระ โอ.

ปล.หารูปไม่ได้ครับเลยถ่ายจากหนังสือแทนไม่ว่ากันนะครับ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

12.เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒

เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ๒ เป็นเหรียญที่พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จัดสร้างขึ้นเป็นลำดับที่สอง ต่อจากเหรียญเสมารุ่นแรก โดยเหรียญรุ่นสองนี้มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ จัดสร้างด้วยกันหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อทองแดงรมดำ มีการจัดสร้างขึ้นมาหลายบล็อกหลายแม่พิมพ์ด้วยกันเพื่อให้ได้จำนวนเหรียญเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ที่มีความศรัทธาต่อ

พระเครื่องหลวงปู่ทวด
นั่นเอง
โดยสามารถแบ่งบล็อกแม่พิมพ์เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ๒ เป็น ๒ พิมพ์หลักโดยพิจารณาจากขนาดของเม็ดไข่ปลาที่ขอบเหรียญด้านหน้า มีดังนี้ คือ เหรียญไข่ปลาเล็ก เหรียญไข่ปลาใหญ่ ซึ่งแต่ละพิมพ์ยังสามารถแบ่งออกไปได้อีกหลายบล็อก
๑.เหรียญหลวงปู่ทวดพิมพ์ไข่ปลาใหญ่ แบ่งออกเป็นบล็อกต่างๆได้ดังนี้
๑.๑ บล็อกไม้มลาย
๑.๒ บล็อกพุทย้อย
๑.๓ บล็อกสายฝน
๑.๔ บล็อกธรรมดา
๒.เหรียญหลวงปู่ทวดพิมพ์ไข่ปลาเล็ก แบ่งเป็นบล็อกย่อยได้ดังนี้
๒.๑ บล็อกพุทย้อยยาว
๒.๒ บล็อกหน้าใหญ่ พุทย้อยสั้น
๒.๓ บล็อกหน้าแก่ พุทย้อยสั้น
๒.๔ บล็อกทองคำ หน้าผาก ๓ เส้น
๒.๕ บล็อกทองคำ หน้าผาก ๒ เส้น
เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ๒ พิมพ์ที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ เหรียญ”ไม้มลาย” (โดยสังเกตจากคำว่า “ช้างให้” เขียนเป็น “ช้างไห้”) มีราคาค่านิยมรองจากเหรียญรุ่นแรกเท่านั้น มูลค่าการสะสมในเหรียญสวยๆ ผิวรมดำเดิมไม่สึกไม่แหว่งน่าจะมีราคาอยู่ที่ แสนบาทขึ้นไปถ้าจมูกไม่บี้แบนและรมดำเดิม แท้ดูง่าย เซียนสายใต้สู้กันหลายแสนเพราะหายากมาก (บล็อกนี้มีจำนวนหลักร้อยเท่านั้น)
ตำหนิเหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น ๒ บล็อก”ไม้มลาย”

ด้านหน้า

๑.เม็ดไข่ปลารอบๆเหรียญเป็นเม็ดนูนเต่งชัดเจน
๒.คำว่า”ไห้” สะกดด้วยไม้มลาย
๓.หางตาขวามีจุดกลมๆ เป็นเม็ดเล็กเล็ก
๔.มีเส้นแตกข้างหูขวาลากยาวไปจรดขอบ เหรียญเก๊จะเป็นเส้นแข็งทื่อไม่พลิ้วเป็นธรรมชาติ
๕.บริเวณไหล่ซ้ายตรงผ้าสังฆาฎิ จะมีเส้นบางๆพาดจากผ้าสังฆาฎิวิ่งไปจรดยันต์ เหรียญเลียนแบบเส้นจะแข็งไม่ปะติดปะต่อ

ด้านหลัง
๑. เหรียญมักจะมีเนื้อปลิ้นและรอยตาไก่อันเป็นเอกลักษณ์ของเหรียญปั๊มยุค ๒๕๐๐ ขึ้นไป
๒.ใต้หูเหรียญ มีร่องรอยเส้นขนแมว เส้นเสี้ยนอยู่หลายเส้น หากพื้นเหรียญหยาบสากและไม่มีรอยเส้นต่างๆให้ระวัง
๓.คำว่า”พระครู” ตัว ค.ควาย มีเส้นซ้อนอยู่ด้านบน คล้ายๆเป็นรอยปั๊มซ้ำ
๔.ตัว วงเล็บปิด ที่คำว่า ”ทิม” มีร่องรอยการแกะพิมพ์พลาดคล้ายกับเขียนว่า “(ทิม))”
๕.ข้างหูซ้ายมีเส้นแตกเฉียงขึ้นด้านบน
๖.มีเส้นแตกคมๆ ดิ่งจากข้างหูขวาลงไปที่ไหล่ขวา


Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

11.เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่นแรก ปี.๒๔๘๐ พิมพ์หน้าจม (นิยม)

ตำหนิเหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา รุ่นแรก ปี.๒๔๘๐ พิมพ์หน้าจม (นิยม)

หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา(วัดลาดบัวขาว) เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวถึง ๑๑๗ ปี และเป็นผู้ถ่ายทอดวิทยาคมให้กับหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ เหรียญหลวงปู่ทองที่สร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดและเป็นสุดยอดเหรียญที่นักสะสมต่างก็เสาะแสวงหา มีเพียงรุ่นเดียว คือ เหรียญหลวงปู่ทอง ปี ๒๔๘๐ มีแม่พิมพ์ ๒ บล็อก คือ เหรียญพิมพ์หน้าลอยกับเหรียญพิมพ์หน้าจม ซึ่งปัจจุบันก็มีความนิยมด้วยกันทั้งคู่ เพราะความหายากนั่นเอง แต่ในอดีตพิมพ์หน้าจมจะมีความนิยมมากกว่าอีกพิมพ์มาก เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นนี้เป็นเหรียญรูปไข่ปั๊มแบบมีหูในตัว ด้านหน้ามีรูปหลวงปู่ทองห่มจีวรหันข้างครึ่งองค์ล้อมรอบด้วยเม็ดไข่ปลาและตัวหนังสือไทย เขียนว่า “ท่านอาจาริย์ทองวัดราชโยธา อายุ ๑๑๗ ปี” ด้านหลังเหรียญมีอักขระยันต์และตัวหนังสือไทยระบุว่า”แก้ว ค้ำวิบูลย์ ครั้งที่ ๑” มีเส้นขอบเหรียญแบบ ๒ ชั้น สร้างด้วยเนื้อเงินและทองแดงรมดำ ชนิดที่ไม่รมดำเนื้อเหรียญออกไปทางสำริดก็มี...

จุดตำหนิในเหรียญหลวงปู่ทองพิมพ์หน้าจมมีดังนี้...
ตำหนิด้านหน้า
๑. ปรากฏเส้นพิมพ์แตกทั่วทั้งเหรียญ แต่ที่ถือเป็นจุดสำคัญมีดังนี้
ก. มีเส้นพิมพ์แตกจากหูเหรียญทะลุเม็ดไข่ปลาเส้นนี้มีช่วงปลายเส้นวิ่งเข้าไปชนหัว ด.เด็ก และมีรอยแตกเหนือตัว ร.เรือ วิ่งขนานกันไปอีกหนึ่งเส้น
ข. ตรงคำว่า “อาจาริย์” มีเส้นพิมพ์แตกจากสระอิ วิ่งไปจรดขอบเหรียญด้านซ้ายมือ
ค. หัวไหล่ขวามีเส้นพิมพ์แตกจรดขอบเหรียญ การบิดโค้งของเส้นเป็นไปตามธรรมชาติไม่แข็งทื่อ ของเก๊รุ่นใหม่ถอดพิมพ์จากของแท้ทำได้เหมือนแต่ขาดความเป็นธรรมชาติ ความคมชัดและเนื้อโลหะไม่ได้ความเก่ามักมีการใช้น้ำยาเคมีทำเก่าและปกปิดร่องรอยหลายๆอย่างให้ระวังเหรียญที่อยู่ในกรอบที่แกะไม่ได้
ง. ที่ตัว “ยะ”ด้านล่างมีเส้นพิมพ์แตกพาดขอบเหรียญด้านล่าง และที่ตัวเลข “๗” มีเส้นพิมพ์แตกที่หางทะลุเม็ดไข่ปลา ที่ใกล้คำว่า”ธา”มีเส้นพิมพ์แตกทะลุเม็ดไข่ปลาจรดขอบเหรียญเส้นปลายเรียวแหลม
๒. แก้มหลวงพ่อมีรอยยุบและในใบหูมีเส้นซ้อนหนึ่งเส้น นัยน์ตาหลวงพ่อแกะเป็นตาเนื้อ มีลักษณะเหลือบลงด้านล่าง

ตำหนิด้านหลัง
๑. เหรียญหลวงปู่ทองรุ่นนี้เป็นเหรียญปั๊มหูในตัว แต่ห่วงที่ใส่มากับเหรียญ ( ถ้ายังมีเหลือนะ) เชื่อมติดกัน
๒. อักขระขอมตัว “มะ และ นะ” แกะชนกรอบวงกลม
๓. คำว่า “ค้ำ” ไม้โทจะติดไม่ชัดและอยู่บนตัว สระ อา
๔. มีเนื้อเกินข้างขอบเหรียญทุกเหรียญ หากเนื้อเกินมีน้อยหรือเหรียญถูกตัดใกล้ขอบมากไม่เหลือเนื้อเกินเลยให้พึงระวัง

บทส่งท้าย...เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธาเป็นเหรียญที่ใช้โลหะนำเข้าในยุคแรกๆของเมืองไทยเป็นโลหะเนื้อดีและมีอายุ ๗๒ ปีแล้ว(๒๓ ส.ค.๒๕๕๒) ดังนั้นโลหะต้องมีความซีดหม่น สังเกตเห็นความเก่าได้ด้วยตาเปล่าไม่แข็งกระด้างและมันวาว หากมีโอกาสจะหาเหรียญพิมพ์หน้าลอยมาลงตำหนิให้ชมอีกครับ
...ไปดูรูปพิมพ์หน้าลอยองค์ดาราได้ที่นี่ครับ=www.pralanna.com

Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

10.พระเครื่อง เหรียญในหลวงทรงผนวช วัดบวรฯ พ.ศ. ๒๕๐๘

ตำหนิ เหรียญในหลวงทรงผนวช วัดบวรฯ พ.ศ. ๒๕๐๘

เหรียญที่ระลึกทรงผนวช สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุเสมอพระราชบิดาและการพระราชพิธีฉลองสมโภชเจดีย์ หล่อพระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ในงานพระราชพิธีเรียกว่า “จาตุรงคมงคล” ทั้งนี้เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลถึง ๔ อย่างในคราวเดียวนั่นเอง

เหรียญในหลวงทรงผนวชนี้ เท่าที่วงการยอมรับนิยมเล่นหากันมี เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดงกะไหล่นาก และเนื้ออัลปาก้า (เนื้อช้อนส้อม) เพราะจำนวนที่สร้างอย่างมากมายจึงมีการแยกบล็อกออกมามากมายหลายประเภท แต่ที่นิยมมีเฉพาะเนื้อทองแดง เนื้ออัลปาก้า มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือ ด้านหน้าขอบเหรียญด้านในใต้หูเหรียญจะเว้าขึ้นเล็กน้อย ด้านหลังฐานเจดีย์จะเต็ม แต่หากเป็นเนื้อทองคำ หรือเนื้อเงินที่นิยม (ที่จริงก็นิยมทั้งสองเนื้อเพราะหายากทั้งคู่) ด้านหน้าจะไม่เว้าขึ้น มีเพียงแต่ฐานเจดีย์ด้านหลังเต็มเท่านั้น

เหรียญในหลวงทรงผนวช ปี ๒๕๐๘ นี้มีจุดสังเกตที่สำคัญ คือ เหรียญเนื้อทองแดง และเหรียญเนื้ออัลปาก้าเป็นเหรียญปั๊มตัดทีเดียว

เหรียญเนื้อทองคำ และเนื้อเงิน
เป็นเหรียญปั๊มข้างกระบอก
ตำหนิเหรียญในหลวงทรงผนวช ปี ๒๕๐๘ บล็อกนิยม
๑.ตัวหนังสือและพระพักตร์จะมีลักษณะคมชัดเพราะว่าผลิตโดยกองกษาปณ์
๒.หูเหรียญด้านหน้าจะมีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นตำหนิพิมพ์ที่เกิดจากการปั๊มกระแทกอย่างแรงนั่นเอง
๓.ในบล็อกนิยมเนื้อทองแดงและเนื้ออัลปาก้าขอบเหรียญด้านหน้าใต้หูเหรียญจะเว้าขึ้นเล็กน้อย ในเหรียญที่ยังไม่สึกบนขอบเหรียญจะเห็นเป็นเส้นวงเดือนอยู่หลายเส้น (เส้นนี้ช่วยตัดสินความเก๊แท้ของเหรียญได้อย่างดีทีเดียว)
๔.ใต้หางตัว ช.ช้าง จะมีเม็ดไข่ปลาอยู่หนึ่งเม็ดคมๆ
๕.บนขอบเหรียญด้านหลังจะมีเส้นรัศมีวิ่งอยู่รอบๆขอบเหรียญ
๖.เจดีย์ด้านหลังต้องคมชัด ไม่เอียง
๗.ในพื้นที่ว่างหลังเจดีย์ จะมีเส้นขนแมว (เฉพาะบล็อกนิยม เนื้อทองแดงและอัลปาก้า)
๘.คำว่า “พระชน” หางตัว ช.ช้าง จะพาดบนฐานเจดีย์
๙.ในบล็อกนิยมฐานเจดีย์จะเต็มและตัว ส.เสือ ของคำว่า “เสมอ” จะพาดบนเส้นเจดีย์ชั้นล่างสุดเช่นกัน


Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

9.เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม ปี ๒๔๘๔

ตำหนิเหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม ปี ๒๔๘๔


ตำหนิเหรียญด้านหน้า

๑.เปลือกตาขวาของหลวงพ่อคง (ซ้ายมือเรา) นายช่างแกะบล็อกมีลักษณะหักลงทีละมุมทำให้เห็นเป็นเหลี่ยม เป็นมุมอยู่สองสามจุด และใต้เปลือกตาล่างลงมามีเส้นขีดขนานอยู่ สองเส้น มีลักษณะเรียวเล็กและคมชัด
๒.มุมปากขวามีเส้นกล้ามเนื้อแสดงการเหี่ยวย่นของวัย ของแท้ดูพลิ้ว สวยงามทำให้เห็นความชราได้ชัด
๓.จุดสำคัญ เส้นปลายผ้าที่จรดกับผ้าสังฆาฏิมีร่องรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กมาก เหรียญแท้ร่องนี้ดูคล้ายเป็นบ่อน้ำอยู่ภายใน ของเก๊ตื้นและตัน ส่วนตรงสุดปลายเส้นอีกด้านหนึ่งปริแยกออกเป็นสองเส้นคล้ายหางตะขาบ
๔.ตรงดอกจันทร์ด้านล่าง เส้นกั้นดอกจันทร์แต่ละเส้นจะคม กลีบดอกมีริ้วรอยตกแต่งมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆคล้ายเอาของแหลมขูดเพื่อให้เกิดเส้นกลีบดอกแลดูเหมือนของจริงมาก
๕.เหรียญหลวงพ่อคงรุ่นนี้เป็นเหรียญห่วงเชื่อม

ตำหนิเหรียญด้านหลัง
๑.เส้นแตก เส้นฟ้าผ่า เป็นเส้นที่เกิดจากกรรมวิธีการผลิต การปั๊มการกระแทกเหรียญ บางเหรียญมีมาก บางเหรียญมีน้อยไม่เหมือนกัน โปรดจำไว้ว่าของเก๊ใช้แม่พิมพ์ตัวเดียว ดังนั้นรอยแตกของเส้นในเหรียญเก๊จะเหมือนและซ้ำที่กันอยู่เสมอ หากสามารถจำแม่พิมพ์เหรียญเก๊ได้ จะทำให้ได้เปรียบในการพิจารณาและเป็นประโยชน์ต่อเรามากขึ้น
๒.เส้นลากยันต์ (ที่มีตัวขอมอยู่ข้างใน) จะมีเส้นแตกขนาดเท่ากับเส้นขนแมว เล็กเรียวคมและบิดโค้งแลดูอ่อนช้อย ส่วนของเก๊มักลางเลือนหรือไม่ก็เป็นเส้นใหญ่แข็งกระด้างไปเลย
๓.ตรงคำว่า ”คุณ” มีเส้นแตกขนแมวเส้นเล็กๆ เหรียญเก๊ก็มีแต่จะไม่เหมือนกันตรงที่เส้นทึบหนาและเลือนกว่าของแท้เพราะถอดพิมพ์มา
๔.อักขระตัวขอมตัวแรกในบรรทัดที่สองจะมีเส้นแตกแบบขนแมววิ่งเฉียงขึ้นและหายไปในที่สุดตรงขยักแรกของยันต์ตัวที่สองของบรรทัดแรก ที่สำคัญเส้นต้องเล็กเรียวบางและคมไม่แข็งกระด้าง ไม่เลือนราง
๕.ยันต์บรรทัดที่สาม ตัวที่สองจะมีเนื้อพอกอยู่มีลักษณะนูนคล้ายๆหูดเป็นสันปลายคม


ปล.รูปหายากมากครับขอถ่ายเอกสารละกัน คริ คริ


Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

8. เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ปี ๒๕๐๓


ตำหนิเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ปี ๒๕๐๓
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ นับได้ว่าเป็นเหรียญที่สร้างหลังปี ๒๕๐๐ ที่มีความโด่งดังมาก เพราะมีพลังพุทธคุณที่ล้ำเลิศโดดเด่นทางด้านคงกระพันชาตรีมากนั่นเอง เหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อเงินและเนื้อทองแดงเท่านั้น เนื้อเงินมีประวัติว่าสร้างน้อยมากจึงมีราคาที่สูงมากสวยๆ ณ.เวลานี้น่าจะทะลุล้าน(๑๘ ส.ค.๒๕๕๒)บาทขึ้นไปแล้ว เนื้อทองแดงก็เล่นกันที่หลักแสนจะกี่แสนก็ขึ้นอยู่กับความสวยงาม การดูง่าย และอยู่กับใครอีกทีหนึ่ง จุดตำหนิที่นำมาเสนอนี้ค่อนข้างจะแตกต่างกับหนังสือชี้ตำหนิพระที่วางขายทั่วไปซักหน่อยเพราะว่าเป็นตำหนิจุดตายของเซียนพระที่เขานำมาตัดสินชี้ขาด กล้าซื้อ กล้าขายกันเลยทีเดียว รับรองว่าถ้าเหรียญของคุณมีตำหนิตรงจุดที่ชี้ให้นี้ก็แท้ไปมากกว่า เก้าสิบเปอร์เซ็นต์แล้วครับ (ถ้าคุณไม่ดูแบบเข้าข้างตัวเองนะ)

ตำหนิเหรียญหลวงพ่อแดงด้านหน้า

๑.ให้ดูที่บริเวณหูเหรียญหลวงพ่อแดงจะมีเส้นแซมอยู่ใต้หูเหรียญมีลักษณะเป็นเส้นตรงคมๆพาดขวางอยู่ บางเหรียญจะมีรอยบากคล้ายโดนมีดสับตรงด้านข้างหูเหรียญพอดี
๒.คำว่า”อายุ” ตรง อ.อ่าง ปลายจะสะบัดขึ้นและมีลักษณะเรียวแหลม ภายในตัว อ.อ่างตรงปลายจะมีเส้นซ้อนอยู่ด้านใน
๓.บริเวณเหนือศรีษะหลวงพ่อด้านขวามือเราบางเหรียญจะมีรอยบากเข้าไปในเนื้อเหรียญ(คล้ายเหรียญหลวงปู่ทวดรุ่นแรกเพียงแต่อยู่คนละด้าน) และมีเส้นเรียวบางโค้งขึ้นจากศรีษะ เป็นเส้นเล็กๆต้องใช้กล้องส่องดูถึงจะเห็นได้ชัด ของเลียนแบบจะทำจุดนี้ไม่เหมือนถ้าไม่บางเกินไป ก็ใหญ่เกินไปดูไม่พลิ้ว
๔.บริเวณผ้าสังฆาฏิบนไหล่ซ้ายหลวงพ่อแดงจะมีเส้นอยู่สองเส้นตีคู่กันเป็นแนวยาวและบางเหรียญจะมีร่องบากอยู่หนึ่งร่อง ต้องใช้กล้องส่องดูจึงจะเห็นได้ชัดเจน เหรียญเลียนแบบมักจะไม่มีเส้นนี้ปรากฏให้เห็น
๕.บริเวณตัวอักษรคำว่า”พระ”จะมีเส้นขอบจีวรแทงทะลุสระอะเป็นเส้นคมๆ ซึ่งเหรียญเลียนแบบมักจะถอดออกมาไม่ดีดูเบลอๆ

ตำหนิเหรียญหลวงพ่อแดงด้านหลัง

๑.หูเหรียญด้านหลังจะมีเส้นขีดขวางเป็นแนวยาวอยู่หลายเส้นข้างหูเหรียญและมีเนื้อปลิ้นเนื้อเกินอยู่เป็นเอกลักษณ์ของเหรียญปั๊มยุคหลังปี ๒๕๐๐ จะมีตำหนิลักษณะนี้อยู่ทุกเหรียญ
๒.อักขระด้านบนขวามือของเรา ใต้อักขระจะมีเม็ดไข่ปลาเม็ดเล็กๆอยู่หนึ่งเม็ด ซึ่งเม็ดไข่ปลาเม็ดนี้จะมีความคมชัดมาก
๓.ขอบเหรียญด้านหลังจะมีรอยตัดเขยื้อนอยู่ อาจมีเนื้อปลิ้นเป็นบางเหรียญ บางเหรียญเนื้อเหรียญด้านล่างจะเยอะกว่าด้านบน เนื้อของขอบเหรียญจะไม่เท่ากันทุกเหรียญขอบเหรียญด้านใดมีเนื้อเยอะอีกด้านจะมีเนื้อน้อยกว่าเสมอ
๔.หากเหรียญใดใช้จนสึกเนื้อเหรียญจะดูไม่เข้ากันมีลักษณะเป็นเกล็ดประกายเม็ดเล็กๆ


หรือจะไปดูรูปที่ชัดๆก็ได้ครับไปที่นี่=รูปตำหนิเหรียญหลวงพ่อแดง เค้าทำไว้ดีมากครับ

Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์,ตำหนิเหรียญ

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

7.เหรียญพิมพ์เสมา หลวงพ่อเดิม ปี พ.ศ.๒๔๗๐ วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์


ตำหนิเหรียญพิมพ์เสมา หลวงพ่อเดิม ปี พ.ศ.๒๔๗๐ วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์

ตำหนิด้านหน้าเหรียญ
1.ลูกนัยน์ตาหลวงพ่อเดิม ช่างแกะเป็นร่องกลม กลวงด้านใน
2.ตรงบ่าหลวงพ่อเดิมด้านซ้ายบริเวณผ้าสังฆาฏิ ช่างแกะพิมพ์เกิน เป็นเส้นขนแมวหนึ่งเส้นไม่ยาวมากนัก
3.คำว่า “พระครู” หาง ร.เรือ ดูคล้ายเป็นจุดไข่ปลาสามเม็ด ค.ควาย มีเส้นแตกที่หัว
4.คำว่า “วัด” มีเส้นแตกใต้ตัว ด.เด็ก วิ่งชนกลีบบัวด้านล่าง
5.ใต้อาสนะหลวงพ่อเดิมมีเส้นแซมคมๆอยู่หนึ่งเส้น ปลายเส้นด้านขวาของหลวงพ่อเดิมมีปลายแหลม
6.มีรอยเนื้อปลิ้น เนื้อทะลัก อันเกิดจากแรงกระแทกของเครื่องปั๊ม
7.มีเนื้อพอกเนื้อเกินที่มุมขวาบน ใต้อักขระขอมตัวแรก

ตำหนิด้านหลังเหรียญ
1.มีรอยตาไก่เนื้อปลิ้นตรงรูใส่ห่วงเหรียญและมีเส้นแตกใต้หูเหรียญเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า
2.ขอบเหรียญด้านซ้ายมักจะนูนสูงกว่าอีกด้านและมีรอยแตกอ้าของเนื้อเหรียญ ขอบเหรียญด้านขวามักจะหลุดหายไปตลอดแนว
3.คำว่า พ.ศ. ตัว ศ.ศาลา มีเส้นแตกอยู่ด้านใน
4.เลข “๐” ไทย วงด้านในจะไม่กลม


Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

6.ตำหนิบนเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง พิมพ์ยันต์ห้า

เหรียญหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง พิมพ์ยันต์ห้า สร้างก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมท่านจะมรณภาพ ซึ่งสร้างโดยคณะศิษย์เพื่อแจกให้กับผู้มีอุปการคุณที่ได้บริจาคเงินเอาใว้ใช้จ่ายในงานศพของหลวงปู่เอี่ยม ที่ได้เตรียมการเอาไว้ก่อนแล้วเพื่อไม่ให้เป็นการยุ่งยากกับทางวัดนั่นเอง โดยได้แกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่เพื่อไม่ให้เหมือนกับพิมพ์ยันต์สี่ที่ได้สร้างเอาไว้ก่อนแล้วนั่นเอง เนื้อโลหะที่นำมาทำเหรียญเป็นทองแดงผสม หรือเนื้อกลับ จะมีสีสันวรรณะออกสีแดงอมน้ำตาลคล้ายสัมฤทธิ์ เหรียญหลวงปู่เอี่ยมหลังยันต์ห้ารุ่นนี้ได้สร้างและทำพิธีปลุกเสกก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพ จึงทำให้มีการยอมรับและเล่นหากันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกวงการพระฯ แน่นอนครับราคาก็ย่อมสมศักดิ์ศรีหลวงปู่เอี่ยมวัดหนังท่านอย่างแน่นอน.....
จุดตำหนิเหรียญหลวงปู่เอี่ยม พิมพ์ยันต์ห้า ด้านหน้า

1.สังเกตด้านข้างเม็ดนัยน์ตาทั้งสองข้าง จะมีเส้นขนแมวอยู่ในตาขาวถึงเหรียญจะสึกอย่างไรก็ยังมีอยู่เห็นได้ชัดโดยการใช้กล้องส่องพระส่องดู
2.บริเวณด้านข้างศรีษะหลวงปู่เอี่ยมด้านซ้ายจะมีเม็ดไข่ปลาอยู่ แม้จะแขวนจนสึกก็ยังเห็นได้ชัดเจน ถ้าเป็นของเลียนแบบมักถอดพิมพ์ออกมา เม็ดไข่ปลามักจะบางหรือไม่ก็ใหญ่กว่าความเป็นจริงดูแข็งๆทื่อๆไม่พลิ้ว
3.ใต้ลายกนกด้านซ้ายของหลวงปู่จะมีเม็ดไข่ปลาอยู่ 2 เม็ด ที่เม็ดไข่ปลาอันล่างจะมีจุดกลมนูนเล็กๆอยู่ 1 เม็ด สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า พระเลียนแบบถอดพิมพ์มักจะมองเห็นได้ไม่ชัด หรือไม่มี หรือถ้ามี เม็ดนี้มักจะเชื่อมติดเป็นเม็ดเดียวกันไปเลย
4.ตัว ว. แหวนตรงคำว่า”วัน” บนหัว ว.แหวน มีขีดวิ่งไปชนขอบเหรียญ สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้ว่าจะใช้มาจนสึกก็ตาม
5.บริเวณผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าหลวงปู่เอี่ยม จะมีเส้นทิวอยู่ 1 เส้นตรงด้านข้างผ้าสังฆาฏิ พระเลียนแบบถอดพิมพ์มักจะไม่คมดูตื้นเบลอ
บางเจ้าใช้มีดกรีดเป็นร่องอีกทีหนึ่ง จึงดูไม่พลิ้วเป็นธรรมชาติ(ลองหารูปที่ชัดๆใหญ่ๆดูอีกทีก็ได้)

จุดตำหนิด้านหลัง

1.ด้านหลังเหรียญขวามือของเราจะมีอักขระตัวขอม” รํ-ร ”พาดทับเส้นของยันต์ห้า ตรงจุดนี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แม้ว่าเหรียญจะใช้มาจนสึกก็ตาม
2.ตัว “ศ” หางของตัว “ศ” จะมีเนื้อเกินยาวจรดหัวอักษร เป็นแบบนี้ทุกเหรียญแม้จะแขวนจนสึกก็ตามที



Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

5.จุดตำหนิเหรียญหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ รุ่นแรก พ.ศ.2500



เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่นแรก วัดช้างให้ พ.ศ.2500

เหรียญหลวงปู่ทวด ร่นแรก สร้าง 2 ครั้ง ในช่วงปี พ.ศ. 2500 ถึง ปี พ.ศ.2501 หลังจากที่มีการสร้างพระเนื้อว่านรุ่นแรกในปี พ.ศ.2497 แล้วยังมีความต้องการพระเครื่องหลวงปู่ทวดอีกเป็นจำนวนมาก ท่านอาจารย์ทิม (พระครูวิสัยโสภณ) จึงได้ทำการจัดสร้างพระรุ่นต่อมา แต่ว่าเป็นการสร้าง ในรูปแบบเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเป็นครั้งแรก (ของโลก) เป็นเหรียญทองแดงธรรมดาไม่ได้ลงกะไหล่ไว้ มีจำนวนเหรียญ 3000 เหรียญ แต่ว่าไม่พอต่อความต้องการของประชาชนที่นับถือต่อองค์หลวงปู่ทวด ดังนั้นจึงมีการสร้างเหรียญรุ่นแรกเป็นครั้งที่ สอง อีกประมาณ 5000 เหรียญ โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิมแต่ได้ลงกะไหล่เงินและกะไหล่ทองเอาใว้เป็นจุดสังเกต ทำเป็นเหรียญทรงเสมา
มี บล็อกเดียวพิมพ์เดียว มีเฉพาะเนื้อทองแดงเท่านั้น......

ตำหนิพิมพ์ด้านหน้า

1.ปลายนิ้วเท้าหลวงปู่ทวดทั้งสองข้างมีเนื้อเกินยื่นออกมา แลดูคล้ายเล็บ
2.ผ้าอาสนะที่หลวงปู่นั่งอยู่มีเส้นขนแมวแผ่วๆ ดูพลิ้วเป็นธรรมชาติอยู่หลายเส้น
3.ใต้รูใส่ห่วงเหรียญ มีคลีบเนื้อเกินเป็นเส้นเล็กๆ
4.มีเนื้อเกินในร่องระหว่างฐานบัว กลีบที่ 2 และที่ 3 เนื้อเกินจุดนี้เป็นตำหนิในแม่พิมพ์ (ของเลียนแบบก็มี แต่จะแข็งกระด้างไม่พลิ้วและก้อนใหญ่ผิดธรรมชาติ)
5.กลีบบัวแถวบนด้านขวามือเราจะยื่นเกินผ้าอาสนะเห็นชัดเจน ส่วนด้านซ้ายกลีบบัวจะยื่นออกมาล้ำผ้าอาสนะเช่นกันและมีเนื้อเกินเป็นก้อนเล็กๆอยู่ด้านบนตรงกับอาสนะพอดี
6.พื้นผิวเหรียญบางเหรียญมีหลุมหรือแอ่งสั้นๆ อยู่ทั่วไป เกิดจากการที่เศษโลหะร่วงลงไปอุดแม่พิมพ์ระหว่างการปั๊ม
7.เหนือริมฝีปากบน ใต้จมูกหลวงปู่มีเส้นขนแมวพาดขวางในแนวนอน เส้นไม่คมมากหากแต่ว่าติดชัดเจน ถ้าไม่มีหรือว่ามีแต่เส้นตื้นมักจะไม่ดี
8.นัยตาขวาเม็ดจะใหญ่กว่าตาซ้าย และอยู่ต่ำกว่าตาช้ายเม็ดลูกตาทั้งสองข้างคมเห็นชัดเจน
9.ศรีษะหลวงปู่ทวดด้านบน เยื้องไปทางขวา(ซ้ายมือเรา)มีรอยขยักอยู่ 1 รอยเห็นชัดเจน
10.มีเส้นซ้อนที่ด้านในซุ้ม บริเวณคำว่า “เหยียบ” บางเหรียญอาจจะต้องตะแคงส่องดูถึงจะเห็น
11.ตัวหนังสือเป็นแท่งคมชัดเจน ไม่ล้ม ไม่สะบัด ไม่เบลอ
12.ข้อนี้สำคัญมาก “หลวงปู่ทวด” ต้องไม่มีเส้นผมครับ ถ้ามีแสดงว่าเป็นรุ่นอื่นไม่ใช่รุ่นแรกอย่างแน่นอน

ตำหนิพิมพ์ด้านหลัง

1.ตามขอบเหรียญในสภาพที่สมบูรณ์ จะต้องมีเนื้อปลิ้นเนื้อเกินในบางจุดไม่ซ้ำกัน เกิดจากแรงกระแทกของเครื่องปั๊ม
2.ตัวอักขระขอมด้านบนต้องชัดเจนไม่เบลอและที่สำคัญตัวอักขระ “พะ ทะ” หัวตัวอักขระมุมขวาจะต้องเป็นหลุมสามเหลี่ยมตั้งขึ้นไม่มากก็น้อย ถ้าดูเบลอๆ ให้วางได้เลย
3.มีเส้นเกินเป็นติ่งเล็กๆ แต่คมตรงชายจีวรด้านขวาล่าง
4.คำว่า “พระครูวิสัยโสภน” ตัว “น” ตรงจุดกลมๆด้านล่างมักจะมีเนื้อเกินเป็นทางยาว ลากขึ้นไปข้างบนเกือบทุกเหรียญ
5.ตามพื้นผิวเหรียญต้องมีความแน่น ไม่มีฟองอากาศ ที่สำคัญต้องไม่บวม ถ้าบวมจบ........
6.ดูขอบเหรียญว่าเป็นเหรียญหล่อหรือเหรียญปั๊ม เหรียญปั๊มต้องมีเส้นหยาบๆเกิดจากตัวปั๊มที่กระแทกกับเหรียญอย่างแรงแต่ถ้าเป็นเหรียญหล่อก็จะไม่รอยที่ว่าถ้ามีก็จะเบลอไม่คมชัด (ให้หาเหรียญที่ออกใหม่ๆมาส่องดูขอบเอาให้จำขึ้นใจไปเลย)
7. ใต้คางหลวงพ่อทิมมีเส้นซ้อนคมๆ ต้องตะแคงดูจะเห็นชัด


อ้างอิงถึง...พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

4.จุดตำหนิเหรียญ พระ 25 ศตวรรษ(ที่ของเก๊ทำเลียนแบบไม่เหมือน)


ด้านหน้า
1.ขอบด้านหน้าเหรียญจะลึกลงไปคล้ายๆแอ่งกระทะ
2.ตามพื้นเหรียญจะมีเส้นรัศมีเล็กๆ ยิ่งจับพระเอียงมองมุมทแยงจะเห็นชัดมาก เกิดจากแรงกระแทกเวลาปั้ม
3.พระหัตถ์ขวา(มือขวา)ใหญ่ ปลายนิ้วเรียวแหลมสมส่วน
4.พิมพ์นิยมจะมีเส้นเล็กๆระหว่างข้อเท้า สองเส้น
5.จะมีเส้นแกะเกินพิมพ์ที่ด้านล่างบัว(ที่พระยืนอยู่) แนวตั้งเรียกว่าเข็มไม่ยาวเกินไป จะมีแต่เฉพาะพิมพ์นิยม
6.เส้นขอบฐานบัวที่พระยืนอยู่จะโค้ง ดูแล้วสวยงามไม่แข็งกระด้าง
7.นิ้วโป้งเท้าเบื้องซ้ายของพระจะชนกลีบบัวตรงฐานพอดี
8.นิ้วมือซ้ายของพระจะเรียงชิดติดกัน แลดูเป็นธรรมชาติ
9.รัศมีประภามณฑลได้ส่วน เมื่อนำเหรียญมองทแยงจะเป็นแอ่งลงไปงามมาก
ด้านหลังของเหรียญ

ด้านหลังเหรียญแท้ในร่องของยันต์ทั้งหมดจะมีเส้นรัศมีเป็นริ้วรอยส่วนของเก๊ไม่ปรากฏ รอยนี้เกิดจากรอยในแม่พิมพ์เป็นการเกิดขึ้นตอนช่างแกะแบบพิมพ์ แกะแล้วเป็นรอยบวกกับการกระแทกปั๊มเหรียญอย่างแรงจึงทำให้รอยนี้ชัดเจนมากขึ้นขอบด้านข้างเหรียญขอบข้างเหรียญของแท้จะมีรอยเป็นเส้นหยาบๆ เกิดจากตัวตัดขอบเหรียญที่ปั๊มกระแทกลงมาอย่างแรง แต่ของทำเลียนแบบนั้นขอบเหรียญมักจะเรียบ แม้จะมีรอยเป็นเส้นก็จะถี่และละเอียดกว่าเหรียญแท้
***ข้อสำคัญเหรียญต้องไม่บวม ถ้าบวม......จบแน่



Tags...พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

3.พระเครื่อง พระเกจิ เหรียญทุกชนิด.....พระแท้พระปลอม ดูอย่างไร ? ตอนที่-3

พระเครื่อง พระเกจิ เหรียญทุกชนิด.....พระแท้พระปลอม ดูอย่างไร ? ตอนที่-3
แม่พิมพ์เหรียญยุคใหม่

แม่พิมพ์เหรียญยุคใหม่มักจะเอาภาพหลวงพ่อต่างๆที่จะมาทำเหรียญนั้น มาออกแบบบนกระดาษก่อนแล้วจึงเอาไปถ่ายฟิล์ม แล้วนำไปประกบกับเหล็กอ่อนค่อยใช้เครื่องหรือช่างแกะออกมา แล้วจึงนำเหล็กไปชุบกับน้ำยาทำให้เหล็กแข็งตัวก่อนค่อยนำไปใส่ที่เครื่องปั๊มซึ่งก็มีอยู่สามแบบ คือ 1...เหรียญ ปั๊มข้างเลื่อย โดยนำเอาแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้รูปแล้วนำมาเลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบของเหรียญนั้นๆ
2...เหรียญปั๊มข้างกระบอก นำเอาแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้รูปทรงของเหรียญที่จะปั๊มก่อนเพื่อเข้ากระบอก ด้านข้างของเหรียญชนิดนี้จะมีความเรียบเนียนเนื่องจากกดปั๊มโดยมีกระบอกเป็นตัวบังคับ บางเหรียญจะมีการตกแต่งให้สวยงามทำให้เกิดเส้นทิวบางๆที่ขอบเหรียญบ้าง
3...เหรียญปั๊มตัด พ.ศ.2500-ปัจจุบัน เหรียญในยุคใหม่นี้ด้วยวิทยาการเครื่องจักรอันทันสมัย แรงอัดกระแทกดี ดังนั้นเวลาที่ป็มเหรียญออกมาจึงสวยคมชัดมากมีลักษณะเป็นภาพนูนสูง สังเกตที่ผนังเหรียญจะอยู่ต่ำกว่ารูปของพระเกจิอาจารย์มาก จุดสังเกตของเหรียญยุคใหม่ คือ ผิวเรียบตึง ไม่มีขี้กลาก หรือเป็นหลุมเป็นบ่อเลยแม้แต่น้อยที่ขอบจะมีความเรียบเนียนแต่ว่าคมและมีรอยตัด แววตาของหลวงพ่อจะแลดูแข็งๆ

อย่างที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นว่าเหรียญเก่าแท้ๆหากจะทำเลียนแบบด้วยการทำแม่พิมพ์ใหม่แล้วนำมาปั๊ม ปั๊มอย่างไรก็ไม่เหมือนเพราะว่าถ้าแกะบล็อกใหม่เส้นสายรายละเอียดเดิมๆที่ช่างได้ทิ้งเอาไว้ (ที่เราเรียกว่า”ตำหนิ”) ไม่มีทางทำให้เหมือนได้ เพราะเป็นการทิ้งใว้แบบไม่ตั้งใจ ไม่จงใจ แต่ก็เป็นประโยชน์กับพวกเรานักสะสมมือใหม่เป็นอย่างยิ่ง หากรู้จักสังเกตและจดจำ หากเอาเครื่องปั๊มยุคปัจจุบันไปปั๊มยิ่งจะทำให้เกิดความแตกต่าง อย่างมากเพราะกรรมวิธีการสร้างที่แตกต่างกันตามยุคสมัยที่ได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ดังนั้นก็จะทำได้เพียงวิธีเดียวคือ ต้องอาศัยวิธีถอดพิมพ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ดังนั้นพระแท้ก็ต้องแท้อยู่วันยันค่ำ ของเลียนแบบก็เช่นเดียวกัน เพราะตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้วหากว่าแยกแยะพระแท้กับของเลียนแบบไม่ได้เลยนั้น พระเครื่องประเภทพระเหรียญก็คงจะต้องเลิกเล่นกันไปตั้งนานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังเล่นหากันอยู่นั่นแสดงว่ายังสามารถที่จะแยกพระแท้กับพระทำเลียนแบบกันได้ ขออย่าให้ความโลภครอบงำก็แล้วกัน พระอะไรที่ดูก้ำกึ่ง คาบเกี่ยว ดูน่าสงสัย มีพิรุจ แถมยังราคาถูกกว่าค่านิยมสากล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาผู้รู้ ผู้ชำนาญการจะเป็นการปลอดภัยที่สุด.....
ขอส่งท้ายและเน้นย้ำถึงธรรมชาติของเหรียญเก่าโบราณอีกครั้งหนึ่ง พระเหรียญ วิธีสร้างก็คือการนำเอาโลหะมาปั๊มไม่ว่าจะเป็น เงิน ทองแดง นาก ทองคำ หรือโลหะผสมเช่น นวโลหะก็ดี ธรรมชาติของโลหะธาตุเหล่านี้ย่อมจะมีอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซึ่งสามารถแยกแยะได้ดังนี้
1...พื้นผิวเหรียญต้องแห้งผากไม่มีความมันเงาแวววาวใดใดเลย
2...สีสันวรรณะของเหรียญต้องดูซีดจาง ไม่สดใส
3...เมื่อถูกสัมผัสจับต้องแล้วสีสันอาจจะเปลี่ยน แต่เมื่อทิ้งเอาไว้ระยะเวลาหนึ่งก็จะกลับคืนเป็นดังเดิม
4...ไม่มีความคมหลงเหลืออยู่ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน
5...ขอบเหรียญมักจะบาง
6...เหรียญที่ผ่านการใช้มาแล้ว มักจะมีคราบสนิมเกาะอยู่จะเป็นสีอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเหรียญเนื้ออะไรเช่นกันเมื่อล้างคราบสนิมออก หรือ หลุดออกเองก็ดีเมื่อเราส่องดูที่พื้นเหรียญมักจะมีรูพรุนคล้ายตามดเพราะถูกสนิมกัดกร่อนไปถึงเนื้อโลหะแต่ถ้ารักษาอย่างดีก็จะไม่มีหลุมดังกล่าวและจะทำให้เหรียญมีราคาค่านิยมที่แพงยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว(ที่เขาเรียกว่าเหรียญสวยระดับแชมป์นั่นแหละ ของแพง) ถ้าท่านมีเหรียญเก่าๆลองนำมาเทียบกับความเก่าตามธรรมชาติที่ได้เขียนเอาไว้ตั้งแต่ต้นดู ว่าตรงกันหรือเปล่า แต่ต้องทำใจให้เป็นกลางด้วย ไม่เช่นนั้นอาจหลงเข้าข้างตัวเองได้

จบตอน...3 ขอขอบคุณอาจารย์ เอนก หุตังคบดี ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา(ทางตำรา)ครับ



Tags...พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

2.พระเครื่อง พระเกจิ เหรียญทุกชนิด.....พระแท้พระปลอม ดูอย่างไร ? ตอนที่-2

จุดสังเกตุเหรียญโบราณในด้านแม่พิมพ์

เหรียญโบราณตั้งแต่ พ.ศ. 2460-2469 มีจุดสังเกตเกี่ยวกับพื้นฐานของแม่พิมพ์ โดยไม่ได้แยกสำนัก แยกพระเกจิเลยดังนี้

ก. ศิลปะของเหรียญเป็นแบบนูนต่ำ เพราะว่าแกะด้วยมือสังเกตได้จากรูปพระเกจิ-อาจารย์จะไม่นูนสูงขึ้นมาจากพื้นผนังของเหรียญนั้นมาก ลูกตา แก้ม หรือเค้าโครงหน้าจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆตัวอักษรตลอดไปถึงอักขระเลขยันต์ต่างๆทั้งตัวเลขบอก พ.ศ.ก็ดีจะแกะเป็นเลขไทยที่มีศิลปะสวยสดงดงาม ไม่นูนสูงจากพื้นเหรียญมากนักแต่ทว่าจะมีความคมชัดอยู่ในที ไม่เบลอหรือเอียงโย้เย้เลย

ข. เส้นสายรายละเอียดที่นำมาจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นรูปจะเป็นเส้นเรียวเล็กบางหากแต่ว่าคมชัดมาก

ค. หูหรือว่าห่วงเหรียญมักจะใช้วิธีเชื่อมติดกับเหรียญด้วยตะกั่วหรือเงินตามแต่โลหะที่นำมาสร้างพระนั้นๆ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ง. ขอบเหรียญมักจะเรียบไม่ค่อยมีรอยเส้นฟันเลื่อย ขอบเหรียญจะบางและไม่มีความคม เพราะผ่านกาลเวลามานานปริ่มๆร้อยปีเข้าไปแล้ว หากใช้มือลูบดูแล้วมีความคมเหรืออยู่โอกาสที่จะเป็นของเลียนแบบมีสูงมากให้ระวัง

จ. พื้นผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมักจะตึง การสร้างเหรียญนั้นเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังลงบนโลหะ เพราะเช่นนั้นตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงแล้วพื้นผิวเหรียญต้องเรียบตึง แต่ก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่พื้นผิวเหรียญมีเม็ด”ขี้กลาก”อยู่ซึ่งก็มีอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับประวัติการสร้างของทางวัดอีกทีหนึ่ง หากว่าวัดนั้นเกิดสร้างเหรียญมาแล้วเกิดเหตุการณ์ว่าเหรียญเป็นที่ต้องการของประชาชนคนทั่วไปไม่พอกับความต้องการ แล้วปั๊มใหม่โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม อาจจะก่อให้เกิดร่องรอยขี้กลากขึ้นได้ แต่ถ้าพบว่าตามประวัติของทางวัดไม่เคยนำเอาแม่พิมพ์ตัวเก่ามาปั๊มใหม่เลยก็แสดงว่าท่านได้เจอกับของเลียนแบบเข้าแล้ว เพราะก่อนการปั๊มเหรียญแบบโบราณ ก่อนที่จะปั๊มจะต้องนำแม่พิมพ์มาขัดทำความสะอาดก่อน โอกาสที่จะเกิดรอยขี้กลากที่พื้นผิวนั้นมักจะไม่มี

ส่วนเหรียญโบราณในยุคกลางตั้งแต่ พ.ศ.2470 ขึ้นมาจะเริ่มมีเหรียญแบบมีห่วงในตัวขึ้นแล้ว ในบางพระเกจิบางหลวงพ่อยังใช้วิธีการสร้างแบบเดิมอยู่ก็มี จุดสังเกตโดยรวมของเหรียญยุคนี้ที่แตกต่างจากเหรียญยุคแรกมีดังนี้คือ
1.ถ้าเป็นเหรียญที่มีหูในตัวต้องมีเศษโลหะปลิ้นพับไปด้านหลัง จุดนี้เกิดจากแรงกระแทกของการปั้มเป็นส่วนของธรรมชาติต้องมีทุกเหรียญทุกคณาจารย์ที่สร้างในยุคนั้น
2.ขอบเหรียญมักจะมีรอยเลื่อยฉลุ ส่วนจุดอื่นเหมือนเหรียญโบราณยุคแรกทั้งหมด


หากว่าท่านมีเหรียญยุคเก่าสักเหรียญหนึ่ง ลองนำเหรียญนั้นมาเทียบกับทฤษฏี ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นดู ว่าเข้ากับหลักเกณฑ์ของเหรียญยุคโบราณหรือไม่ ทั้งหูเหรียญ ขอบเหรียญ ความสูงต่ำของเค้าโครงหน้าและตัวอักษร ว่าตรงกับที่ว่ามาหรือไม่ ถ้าเข้ากับหลักเกณฑ์แล้วก็มาว่ากันต่อที่โลหะของเหรียญต่อไป โลหะเก่านั้นจะไม่มีความแวววาว ความสดใส หากสัมผัสจับต้องแล้วจะเป็นมันๆขึ้นมา ถ้าทิ้งไว้สักครู่ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมเพราะว่าเนื้อโลหะมีอายุสูง และวรรณะสีสันของเหรียญเก่านั้นมักจะมีสีซีดจางไม่ว่าจะเป็นทองคำ(มักจะออกแดงๆบางท่านว่าเป็นทองบางสะพาน) ทองแดง เงินและนาก

เหรียญทำเทียมเลียนแบบของเก่า ส่วนมากใช้วิธีถอดพิมพ์มาขนาดของเหรียญจะเล็กกว่าของแท้เพราะการหดตัวของแม่พิมพ์ การถอดพิมพ์เหรียญนั้น จะใช้ซิลิโคนมาถอดเพราะซิลิโคนเป็นของเหลวจะซึมไปได้ทุกอณูของเหรียญแม้แต่เส้นขนแมวหรือจุดลับต่างๆก็ถอดติด (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิโคนที่นำมาถอดพิมพ์ด้วย) รอจนซิลิโคนแข็งตัวแล้วก็ถอดออกแล้วพลิกด้านทำแบบเดิมกับด้านหลังอีกเมื่อแข็งแล้วก็ถอดออกเอาปูนทนไฟมากรอกใส่ไปในยางแม่พิมพ์ที่ได้ เมื่อปูนแข็งตัวแล้วแกะเอาซิลิโคนออกแล้วจึงหลอมเอาโลหะที่จะทำแม่พิมพ์พระนั้นให้ละลายเทใส่ในปูนทนไฟนั้น ทิ้งไว้จนเย็นจึงทุบเอาปูนออกก็จะได้แม่พิมพ์เหรียญที่ถอดพิมพ์มา ผ่านขั้นตอนขนาดนี้เหรียญจะไม่หดตัวยังไงไหว
เหรียญทำเทียมในลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้วิธีเหวี่ยงโดยเอาโลหะเหวี่ยงเข้าไปในแม่พิมพ์เหล็กกล้า แล้วจึงตกแต่งพื้นผิวเหรียญโดยใช้น้ำยาเคมี มีเรื่องที่ทำให้สังเกตอย่างหนึ่งคือ เส้นสายรายละเอียดต่างต่างของเหรียญที่ถอดได้จะไม่คม ไม่พลิ้ว เช่นว่า ดวงตาหลวงพ่อจะบี้แบนไม่คมเท่าที่ควร เค้าหน้าจะตื้นกว่าดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ ตัวหนังสืออักขระต่างๆจะล้มเอียงโย้เย้เพราะใช้แรงเหวี่ยงมากนั่นเอง ขอบเหรียญก็เช่นกัน หากเป็นการทำเทียมยุคแรกๆจะทำเป็นห่วงเชื่อมเช่นกัน แต่ตะกั่วที่นำมาเชื่อมจะสีสดดูใหม่อย่างเห็นได้ชัดไม่ซีดแห้งเหมือนของแท้โดยส่วนมากมักจะทำอะไรอำพรางเช่นทำให้เป็นสนิม บิดห่วงให้หัก มีคราบน้ำหมากทับถมอยู่หรือไม่ก็เลี่ยมพลาสติกเลี่ยมทองเพื่ออำพรางร่องรอยทำให้ดูยากเป็นต้นฯ หากเป็นเหรียญในยุค พ.ศ. 2470 ยิ่งทำเทียมยากขึ้นไปอีกเพราะหูเหรียญตรงจุดที่เป็นตาไก่ทำเลียนแบบยากพอสมควร(ปัจจุบันเห็นทำตาไก่ได้แล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรอยคล้ายๆรอยตะไบอยู่ด้านในรูห่วง)แม้ว่าทำได้ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในด้านจุดตำหนินั้นเหรียญทำเทียมเลียนแบบเมื่อถอดออกมาจากของแท้แล้วก็ย่อมจะมีเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูตำหนิให้ไล่ดูตามขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำเอาไว้ก่อนหากว่าไม่เข้าตามองค์ประกอบที่แนะนำเอาไว้เรื่องตำหนิไม่ต้องพูดถึง.....เพราะของเลียนแบบก็มีตำหนิตรงจุดเดียวกันกับของแท้ทุกประการ แต่เป็นเพราะว่าของทำเทียมมีการหดตัวดังนั้นจึงจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสักหน่อยดูเพี้ยนๆผิดไปจากของจริง แต่ก็อย่างว่าเหรียญของเก่าจริงๆมักจะหาดูเป็นต้นแบบก็ยากเพราะมีราคาแพงเป็นส่วนใหญ่แถมบางท่านมักจะเข้าข้างตัวเองไม่ยอมดูในด้านพื้นฐานเลย มักจะข้ามไปดูที่ตำหนิกันเลยมันก็ต้องมีครบอยู่แล้วเพราะถอดมาจากของจริง ยกเว้นบางจุดเท่านั้นที่จะถอดไม่ค่อยติดตรงนี้เซียนใหญ่ทั้งหลายท่านจะยึดเป็นจุดตายและไม่ยอมสอนให้เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเขา พอนักสะสมมือใหม่ไล่ดูตำหนิครบแล้วก็ทึกทักเอาว่าของข้าแท้อย่างเดียวโดยลืมดูธรรมชาติความเก่าของเหรียญไปซะฉิบ เฮ้อ........

......จบตอนสอง.......


Tags...พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

1.พระเครื่อง พระเกจิ เหรียญทุกชนิด.....พระแท้พระปลอม ดูอย่างไร ? ตอนที่-1

พระจะแท้หรือปลอมขึ้นอยู่ที่องค์พระเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าเดิมเป็นพระของใคร ได้จากที่ไหน เคยผ่านสงครามอะไรใครแขวนแล้วโดนยิงไม่เข้า ฟันไม่ออกมามั่ง นั่นไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการสะสมพระเครื่องแบบอาศัยเหตุและผลเป็นข้อสรุป แล้วแนวทางที่ถูกมันเป็นอย่างไร ? ครับตามผมมาเดี๋ยวท่านจะเข้าใจเอง....
ต่อไปเป็นแนวทางและพื้นฐานที่ถูกต้องในการที่จะศึกษาและสะสมพระเครื่องครับ ถ้าท่านใช้เหตุและผลมากกว่าใช้หู หรือใช้ความน่าเชื่อถือต่อบุคคลที่ท่านจะเช่าพระเครื่องต่อจากเขา เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ หากจะถามกันตรงๆ ว่าการศึกษาเรื่องเหรียญ การดูเหรียญให้ขาด มีหลักสำคัญอะไรบ้าง แนวทางเป็นอย่างนี้ครับ
รู้จักผู้สร้าง รู้จักวัดที่สร้าง รู้ประวัติการสร้าง.......

ศึกษาเรื่องแบบและแม่พิมพ์ของพระที่จะสะสม........
ศึกษาเรื่องธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนตามอายุของโลหะที่สร้างเหรียญ......
ศึกษาเรื่องตำหนิ จุดตาย เส้นขนแมว เนื้อปลิ้น เนื้อเกิน การตัดขอบ........
ข้อสุดท้าย....สำคัญนะครับต้องเคยเห็นของแท้ และเห็นบ่อยๆ ในเน็ตฯมีเยอะแยะตามศูนย์พระชื่อดังต่างๆ.....

แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ค่อยมีใครใส่ใจกับการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพระเหรียญเลยจะจำแต่ตำหนิพิมพ์อย่างเดียว เมื่อได้พระมาก็จะส่องกันตะพึดตะพือ แล้วก็มาเปิดตำราดูตำหนิพระเครื่อง พระเหรียญกันอย่างเดียว การกระทำอย่างนี้จะเป็นเครื่องขวางกั้นภูมิปัญญาและความรู้ไม่ทำให้ดูพระเป็นได้จริงๆสักที อย่างมากก็จะรู้ว่าพระรุ่นนี้ชื่ออะไร ใครสร้าง ออกที่ไหน เท่านั้นเองที่เหลือก็อาศัยวัดดวงหรือให้คนอื่นดูให้ถึงจะแน่ใจว่าใช่พระแท้หรือเปล่า สุดท้ายดูกันสิบตาก็ว่าไม่เหมือนกันสักคน

การศึกษาพระเครื่องทุกชนิดควรศึกษาและจดจำเรื่องแบบพิมพ์มาก่อนเป็นอันดับแรก ยิ่งรู้ถึงที่ไปที่มาว่ามีการทำแม่พิมพ์อย่างไร วิธีไหน เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ให้มากเข้าไว้ นั่นจะทำให้เรามีความรู้ในการดูพระเครื่อง พระเหรียญยิ่งขึ้น สามารถแยกออกระหว่างของแท้และของปลอมได้อย่างชำนาญยิ่งขึ้น

แม่พิมพ์ของพระเครื่อง พระเหรียญ
พระทุกชนิดย่อมสร้างจากแม่พิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระชนิดใดก็ตาม ทั้งเนื้อชิน ดิน ผง พระเหรียญ ยกเว้นแต่พระเครื่องที่ลอยองค์เท่านั้น
เวลาที่ท่านเอาพระเครื่องของท่านไปให้เซียนพระดูว่าแท้หรือไม่ประการใด ในตอนแรกเขาจะดูด้วยตาเปล่าก่อนหากดูดีแล้วจึงจะหยิบกล้องมาส่องดู หรือไม่ก็หยิบพลิกไปพลิกมาแล้วก็ส่งคีนให้พร้อมกับพูดว่า “ผิดพิมพ์ครับ”
แม่พิมพ์ของพระเหรียญนั้นสามรถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคที่ 1.ประมาณ 2440-2499 พระเก่า
ยุคที่ 2.ประมาณ 2500-ปัจจุบัน พระใหม่
ในยุคโบราณนั้นสามารถแยกวิธีการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั้มข้างเลื่อยและเหรียญข้างกระบอก วิธีการสร้างนั้นเขานำเอาแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใส่เครื่องปั้ม แล้วกระแทกอย่างแรงบนแผ่นโลหะที่รีดจนบางแล้ว ถ้าเป็นชนิดข้างเลื่อยนั้นจะนำแผ่นโลหะที่ใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั้มให้ได้ตามรูป แล้วจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบรูปทรงของเหรียญนั้นๆ การสร้างพระเหรียญในยุคประมาณ ปีพ.ศ.24....กว่าๆโลหะที่นำมาปั๊มส่วนมากมักจะเป็นโลหะประเภททองแดงเป็นหลัก ยกเว้นเป็นพิธีการสร้างของเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย ที่มียศถาบรรดาศักดิ์อาจจะมีเนื้อทองคำและเนื้อเงินเพิ่มเข้ามาด้วย

แม่พิมพ์ของพระเหรียญในสมัยก่อนนั้นจะนำเอารางรถไฟเก่าๆมาทำเพราะมีความคงทนแข็งแรงมาก แบบของเหรียญก็จะออกแบบเตรียมไว้ทั้งหน้า-หลัง โดยเขียนเอาไว้บนกระดาษสา แล้วค่อยเขียนแบบตามที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษสาลงบนเหล็กรางรถไฟ แล้วจึงนำเหล็กนั้นมาเผาไฟให้แดงทั้งแท่ง รอจนเหล็กเริ่มเย็น ตอนนี้เองเนื้อเหล็กจะแข็งแต่ไม่ถึงกับแข็งมาก จึงนำเอาเครื่องมือมาแกะตามรูปที่เขียนเอาไว้บนเหล็กก่อนที่จะเผาไฟการแกะด้วยมือนั้นความลึกจะไม่ได้มากเหมือนกับการแกะด้วยเครื่อง จึงทำให้เกิดเป็นมิติแบบนูนต่ำออกมา ไม่นูนสูงเหมือนเหรียญรุ่นใหม่ บางครั้งอาจจะแกะพลาดบ้างเป็นริ้วรอยเส้นบางๆที่เราเรียกว่า “เส้นขนแมว” นั่นเอง
เหรียญยุคโบราณนั้นตอนที่ช่างแกะมักจะไม่ได้แกะหูเหรียญเอาไว้เลย(สงสัยจะลืมหรือตั้งใจก็ไม่ทราบได้) จึงต้องนำมาเชื่อมติดเอาไว้ทีหลังโดยใช้ตะกั่วหรือเงินมาเชื่อมติดเอาไว้ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นหลัก ต่อมาค่อยมีการพัฒนาขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2484 ขึ้นมา ค่อยเริ่มมีการแกะให้มีหูในตัวอยู่ในแม่พิมพ์เลย ไม่ต้องมาเชื่อมติดทีหลัง เหรียญลักษณะนี้มักจะมีเนื้อปลิ้นมาทางด้านหลังบริเวณหูเหรียญ ในวงการเรียกว่า “ตาไก่” เหรียญยุคนี้ต้องนำมาเข้าเครื่องตัด หรือนำมาเลื่อยฉลุอีกทีหนึ่ง เพราะเมื่อปั๊มออกมาแล้วจะไม่ออกมาเป็นเหรียญแบบสำเร็จเลย เมื่อปั๊มแล้วจะมีเนื้อเกินติดมาด้วยเรียกว่าปีกเหรียญ ต้องนำมาตัดอีกทีจึงจะออกมาเป็นเหรียญอย่างที่เห็น.......



Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

แนะนำตัวกันก่อน

แนะนำตัวกันก่อน


สวัสดีครับเพื่อนๆ นักสะสมพระเครื่องที่รักทั้งหลาย ก่อนอื่นขอแนะนำตัวกันก่อนผม เก่ง ทุ่งรวงทอง ครับ ชื่อนี้ตั้งเองครับไม่มีใครตั้งให้ เพราะไม่ใช่เซียน แต่รักการสะสมสุดชีวิต จริงๆแล้วการทำเว็บชี้ตำหนินั้น อยากทำมานานแล้วครับ แต่มีมูลเหตุอยู่หลายๆประการด้วยกันที่ทำให้ล่าช้าครับ ประการแรก.....คือ... กลัวข้อมูลไม่แน่นเวลาที่เราจะเช่าพระหรือเครื่องรางต่างๆนั้นไม่รู้จะไปปรึกษาใครครับถามคนหนึ่ง ตอบอย่าง พอถามอีกคนก็ตอบอีกอย่าง ไม่รู้จะเชื่อใครเลยต้องวัดดวงเช่าเอาเพราะอยากได้ สุดท้ายก็โดนอีกนะแหละ.....เซ็ง
ประการที่สอง...เวลาอยากได้ข้อมูลพระองค์ใดองค์หนึ่ง ไปค้นดูในเน็ตก็ไม่เจอ หงุดหงิดมาก คิดใว้ตั้งนานแล้วละครับว่า...ก...ทำเองก็ได้
ประการที่สาม...กลัวทำแล้วไม่มีคนสนับสนุน(ไม่ได้หมายถึงมีคนมาดูหรือเปล่า อันนี้ไม่ห่วงครับ) ข้อนี้สำคัญครับ พิมพ์จนมือหงิกพอโพสแล้วคนมาดูตรึม แต่ไม่มีใครสนับสนุนก็ไม่รู้จะทำไปหาพระ.....อะไร...
ประการสุดท้าย...กลัวข้อมูลผิดพลาดแล้วโดนชาวบ้านเค้าด่า ครับต้องบอกก่อนเลยว่าผมไม่ได้เก่งอะไร ไม่ใช่เซียนใหญ่เซียนเล็กทั้งสิ้นละครับ แต่พอมีข้อมูลในมืออยู่บ้างและอยากช่วยหลายๆคนที่ไม่มีตังค์ซื้อหนังสือชี้ตำหนิราคาแพงๆ….ก็เท่านั้นเอง
ครับผมขอแจ้งก่อนนะครับว่า...ผมไม่ได้เรียงตามลำดับนะครับ คือ ถ้าวันนี้มีข้อมูลหลวงพ่ออะไรก็จะโพสลงเผยแพร่ถ้ายังไม่มีข้อมูลก็รอไปก่อน ทำงานตามความขยันครับ ถ้าสมมุติว่าข้อมูลที่ผมลงไว้นั้นผิดพลาดหรือไม่ครบ ท่านสามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ด้านใต้ข้อความนะครับ ไม่ต้องด่ากัน...
สุดท้ายผมขอกล่าวย้ำอีกครั้งนะครับว่าผมไม่ใช่เซียนพระนะครับ ไม่มีพระขายให้จะมีก็แต่ที่สะสมไว้บ้างเป็นจำนวนหนึ่ง แต่ผมเป็นคนทำบล็อก(มือใหม่)ที่รักการสะสมพระ ดังนั้นรายได้ผมจะมีก็จากค่าโฆษณาเท่านั้นนะครับ ท่านไม่ต้องโพสถามประเภทลองภูมิ หรือลองวิชานะครับ ไม่มีให้ลองครับโพสถามได้ถ้ามีข้อมูลจะหาให้ถ้าไม่มีผมก็จนใจ

ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะมาชมและให้กำลังใจครับ
ด้วยความหวังดีครับ
เก่ง ทุ่งรวงทอง


Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์