วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

12.เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒

เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ๒ เป็นเหรียญที่พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จัดสร้างขึ้นเป็นลำดับที่สอง ต่อจากเหรียญเสมารุ่นแรก โดยเหรียญรุ่นสองนี้มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ จัดสร้างด้วยกันหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อทองแดงรมดำ มีการจัดสร้างขึ้นมาหลายบล็อกหลายแม่พิมพ์ด้วยกันเพื่อให้ได้จำนวนเหรียญเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ที่มีความศรัทธาต่อ

พระเครื่องหลวงปู่ทวด
นั่นเอง
โดยสามารถแบ่งบล็อกแม่พิมพ์เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ๒ เป็น ๒ พิมพ์หลักโดยพิจารณาจากขนาดของเม็ดไข่ปลาที่ขอบเหรียญด้านหน้า มีดังนี้ คือ เหรียญไข่ปลาเล็ก เหรียญไข่ปลาใหญ่ ซึ่งแต่ละพิมพ์ยังสามารถแบ่งออกไปได้อีกหลายบล็อก
๑.เหรียญหลวงปู่ทวดพิมพ์ไข่ปลาใหญ่ แบ่งออกเป็นบล็อกต่างๆได้ดังนี้
๑.๑ บล็อกไม้มลาย
๑.๒ บล็อกพุทย้อย
๑.๓ บล็อกสายฝน
๑.๔ บล็อกธรรมดา
๒.เหรียญหลวงปู่ทวดพิมพ์ไข่ปลาเล็ก แบ่งเป็นบล็อกย่อยได้ดังนี้
๒.๑ บล็อกพุทย้อยยาว
๒.๒ บล็อกหน้าใหญ่ พุทย้อยสั้น
๒.๓ บล็อกหน้าแก่ พุทย้อยสั้น
๒.๔ บล็อกทองคำ หน้าผาก ๓ เส้น
๒.๕ บล็อกทองคำ หน้าผาก ๒ เส้น
เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น ๒ พิมพ์ที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ เหรียญ”ไม้มลาย” (โดยสังเกตจากคำว่า “ช้างให้” เขียนเป็น “ช้างไห้”) มีราคาค่านิยมรองจากเหรียญรุ่นแรกเท่านั้น มูลค่าการสะสมในเหรียญสวยๆ ผิวรมดำเดิมไม่สึกไม่แหว่งน่าจะมีราคาอยู่ที่ แสนบาทขึ้นไปถ้าจมูกไม่บี้แบนและรมดำเดิม แท้ดูง่าย เซียนสายใต้สู้กันหลายแสนเพราะหายากมาก (บล็อกนี้มีจำนวนหลักร้อยเท่านั้น)
ตำหนิเหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น ๒ บล็อก”ไม้มลาย”

ด้านหน้า

๑.เม็ดไข่ปลารอบๆเหรียญเป็นเม็ดนูนเต่งชัดเจน
๒.คำว่า”ไห้” สะกดด้วยไม้มลาย
๓.หางตาขวามีจุดกลมๆ เป็นเม็ดเล็กเล็ก
๔.มีเส้นแตกข้างหูขวาลากยาวไปจรดขอบ เหรียญเก๊จะเป็นเส้นแข็งทื่อไม่พลิ้วเป็นธรรมชาติ
๕.บริเวณไหล่ซ้ายตรงผ้าสังฆาฎิ จะมีเส้นบางๆพาดจากผ้าสังฆาฎิวิ่งไปจรดยันต์ เหรียญเลียนแบบเส้นจะแข็งไม่ปะติดปะต่อ

ด้านหลัง
๑. เหรียญมักจะมีเนื้อปลิ้นและรอยตาไก่อันเป็นเอกลักษณ์ของเหรียญปั๊มยุค ๒๕๐๐ ขึ้นไป
๒.ใต้หูเหรียญ มีร่องรอยเส้นขนแมว เส้นเสี้ยนอยู่หลายเส้น หากพื้นเหรียญหยาบสากและไม่มีรอยเส้นต่างๆให้ระวัง
๓.คำว่า”พระครู” ตัว ค.ควาย มีเส้นซ้อนอยู่ด้านบน คล้ายๆเป็นรอยปั๊มซ้ำ
๔.ตัว วงเล็บปิด ที่คำว่า ”ทิม” มีร่องรอยการแกะพิมพ์พลาดคล้ายกับเขียนว่า “(ทิม))”
๕.ข้างหูซ้ายมีเส้นแตกเฉียงขึ้นด้านบน
๖.มีเส้นแตกคมๆ ดิ่งจากข้างหูขวาลงไปที่ไหล่ขวา


Tags:พระ,พระเครื่อง,ชี้ตำหนิพระเครื่อง,จุดสังเกตพระเครื่อง,เหรียญพระพุทธ,เหรียญพระคณาจารย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น